The Effect of 3 Colored Chronographic Paper on Decline of Interdialytic Weight Gain in Chronic Hemodialysis Patients - ผลของการใช้แผนภูมิสีช่วยผู้ป่วยไตวายเรื้อรังควบคุมภาวะน้ำหนักเกินระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
บทคัดย่อ
Over interdialytic weight gain leading to one common and serious complication that is hypotension during chronic hemodialysis. Despite conventional advisory from certified hemodialysis personnel some of the patients fail to properly control their interdialytic weight gain. The 3 colored chronographic paper was created as a tool to convince those patients to realize their ever-changing status and why the over interdialytic weight gain harm them during the dialysis session. The interdialytic weight gain of ณ 3 kg. means danger and was plotted in red zone, the interdialytic weight gain of ณ 2-3 kg. means to beware of danger and was plotted in yellow zone and the interdialytic weight gain of ฃ2 kg. means safety was plotted in green zone. After the 3 colored chronographic paper were used at 1,6 and 12 months, the changes of interdialytic weight gain of those patients were observed. First, 20 patients in red zone weight were included and one was excluded later. Of the 19 patients, at 1 month, 5.3 percent changed into yellow zone, at 6 months 15.8 percent changed into yellow and green zones and at 12 months 52.6 percent changed into yellow and green zones. It was concluded that the 3 colored chronographic paper together with conventional advisory may help the over interdialytic weight gain patients to realize and try to adapt their eating and drinking habits in order to control their interdialytic weight gain.
Key words: interdialytic weight gain, hypotension
ภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือการดึงน้ำออกจากตัวผู้ป่วยมากเกินไป มีมาตรการหลายอย่างในการป้องกัน แต่สิ่งที่ทำง่ายที่สุดคือการหลีกเลี่ยงภาวะน้ำหนักระหว่างการฟอกเลือดเพิ่มมากเกินไป แต่ผู้ป่วยบางรายยังมีน้ำหนักเพิ่มมากแม้ได้รับคำแนะนำอยู่ตลอด จึงได้พัฒนาแผนภูมิที่มี 3 สี ; แดง เหลือง เขียว เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นภาพสัญญาณอันตรายอย่างชัดเจนเมื่อมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินควร และศึกษาผลของการใช้แผนภูมิสีต่อการลดลงของน้ำหนักตัวที่เพิ่มระหว่างการล้างไตด้วยเครื่องไตเทียมแต่ละครั้ง สถานที่ทำการศึกษาคือ ห้องไตเทียม โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าเชิงพรรณนา (prospective descriptive study) โดยศึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม ที่ได้รับการดูแลรักษา ปรับยาและปรับน้ำหนักแห้งสม่ำเสมอ เลือกเฉพาะผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มระหว่างการฟอกเลือด (interdialytic weight gain) แต่ละครั้งเกินค่าที่กำหนดคือ เพิ่มมากกว่า 3 กิโลกรัมระหว่างวันที่ไม่ได้ฟอกเลือด โดยศึกษาตั้งแต่วันที 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 พฤศจิกายน 2550 ทั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยบันทึกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการฟอกเลือด แล้วจุดลงบนแผนภูมิที่มี 3 สีถ้าน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 3 กิโลกรัมจะอยู่ในโซนสีแดง ถ้าน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 2 กิโลกรัมถึง 3 กิโลกรัมจะอยู่ในโซนสีเหลือง ถ้าน้ำหนักเพิ่มน้อยกว่าเท่ากับ 2 กิโลกรัมจัดอยู่ในโซน ีเขียว ที่ระยะเวลา 1, 6, 12 เดือนหลังใช้แผนภูมิสีพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้นคือร้อยละ 5.3, 15.8 และ 52.6 ตามลำดับ การใช้แผนภูมิสีอาจช่วยทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการล้างไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นประจำสามารถควบคุมน้ำหนักระหว่างการฟอกเลือดได้ดีขึ้น
คำสำคัญ: น้ำหนักตัวที่เพิ่มระหว่างการฟอกเลือดแต่ละครั้ง, ความดันโลหิตต่ำ