การพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มตัดเย็บผ้า อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กมลา วัฒนายิ่งเจริญชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ดุษฎี อายุวัฒน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันความเสี่ยง, แรงงานนอกระบบ, กลุ่มตัดเย็บผ้า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงจากการทำงาน (2) พัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงาน และ (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงาน-นอกระบบกลุ่มตัดเย็บผ้า อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย (1) แรงงานนอกระบบกลุ่มตัดเย็บผ้าจำนวนทั้งสิ้น 125 คน และ (2) กลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ (1) เครื่องมือดำเนินการพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยง และ (2) เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่าง ก่อน-หลังการพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสียงจากการทำงานด้วยสถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มตัดเย็บผ้า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) โครงสร้างรูปแบบการดูแล (2) หลักการของ รูปแบบป้องกันความเสี่ยง (3) กระบวนการดูแลการป้องกันความเสี่ยง และ (4) การติดตามและประเมินผล ด้านผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การได้รับความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อน-หลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) โดยภายหลังการพัฒนารูปแบบแรงงานได้รับความเสี่ยงและผลกระทบ ต่อสุขภาพน้อยลงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ สรุปได้ว่า รูปแบบการป้องกันความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้น ทำให้การทำงานเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับแรงงาน ครอบครัวและทีมเครือข่ายทำงาน ดังนั้น ควรนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายกัน และให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมและพัฒนาแหล่งข้อมูลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หรือการพัฒนาทีมเครือข่ายทำงานอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ