การตั้งครรภ์วัยรุ่นในประเทศไทย: ความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานและนโยบาย

ผู้แต่ง

  • รักมณี บุตรชน โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี
  • ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ยศ ตีระวัฒนานนท์ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, ผลกระทบระดับบุคคล, ผลกระทบระดับสังคม, นโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในหลายระดับทั้งระดับบุคคล สังคมและประเทศ ซึ่งหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงอายุน้อยกว่า 16 ปี ทําให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพของแม่และเด็ก ขณะที่ผลกระทบด้านสังคมของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความไม่พร้อมในการตั้งครรภ์ การไม่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม โดยวัยรุ่นมีโอกาสตั้งครรภ์แบบไม่พร้อมมากกว่าวัยอื่นๆ ส่งผลให้เสียโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศโดยเกี่ยวข้องกับค่าเสียโอกาสด้านภาษีหรือการจัดการสวัสดิการทางการแพทย์และสาธารณสุขสําหรับนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ ชัดเจนถึงประสิทธิผลของมาตรการต่างๆ โดยส่วนใหญ่ข้อแนะนําต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นแบบกว้างๆ นอกจากนี้มาตรการที่สําเร็จในประเทศหนึ่ง อาจไม่สามารถนําไปใช้กับประเทศอื่นที่มีบริบทและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการกําหนดหรือออกแบบมาตรการจึงควรให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศและควรเป็นมาตรการผสมผสานโดยการใช้หลายมาตรการร่วมกัน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) จัดให้มีการนําเสนอผลของการทํางานของคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 เพื่อนําไปสู่การปรับนโยบายและกระบวนการทํางาน (2) ให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการปฏิบัติมาตรการที่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ชัดเจน โดยมีการบูรณาการแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานไม่ให้เกิดการต่างคนต่างทํางาน เพื่อลดความซํ้าซ้อน สิ้นเปลืองและเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการ (3) การพัฒนามาตรการใหม่ๆ ควรมีระบบประเมินประสิทธิผลของโครงการหรือมาตรการต่างๆ อย่างเข้มงวด และ (4) รัฐบาลควรผลักดันให้มีศูนย์ข้อมูลเพื่อติดตามปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยเชื่อมต่อระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2