การบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัด: ผลการวิจัยระยะที่ 2

ผู้แต่ง

  • ศิริพร จิรวัฒน์กุล ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัยรุ่นตั้งครรภ์, การบูรณาการ, การวิจัยผสานวิธี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้ผลการดําเนินงานเชิงบูรณาการ ระดับความรู้ที่จําเป็นเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ และพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยของวัยรุ่นในโรงเรียน และผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดของโครงการดําเนินการวิจัยใน 17 จังหวัด ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2559 - มิถุนายน 2561 ใช้แบบผสมผสานวิธีโดยใช้แบบการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงสํารวจไปพร้อมๆ กัน โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และแบบบอกต่อ ได้ข้อมูลอิ่มตัวที่จํานวน 1,401 คนเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ ในส่วนการวิจัยเชิงสํารวจ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มสองขั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 10,025 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีที่ 4 และอาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรนณา ทําการผสานข้อมูลเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพของแต่ละจังหวัดมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อสร้างเป็นข้อสรุป ผลการวิจัยมีข้อค้นพบที่สําคัญ 3 ประการดังนี้ (1) แนวคิดภารกิจ 9 ด้านทําให้จังหวัดทํางานเชิงบูรณาการได้ และมีองค์ความรู้ 8 เรื่องเกิดขึ้น (2)นักเรียนที่มีคะแนนความรู้ที่จําเป็นเท่ากับและมากกว่าร้อยละ 70.0 อยู่ระหว่างร้อยละ 15.0-80.0 นักเรียนอาชีวศึกษาปีที่ 2 ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มีจํานวนมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 41.4,12.8 และ 6.3 อายุเฉลี่ยที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก คือ 14-15 ปี ร้อยละ 90.0 ของนักเรียนที่เคยมีเพศสัมพันธ์คุมกําเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และร้อยละ 92.0 คุมกําเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด โดยร้อยละของการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด น้อยกว่าเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเล็กน้อย (3) อัตราการคลอดของหญิงอายุตํ่ากว่า 20 ปีลดลง การตั้งครรภ์ซํ้าเพิ่มขึ้น หญิงอายุ 15–19 ปี ได้รับยาฝังคุมกําเนิดเพิ่มขึ้น และทุกจังหวัดไม่มีข้อมูลจํานวนนักเรียนหญิงและชายที่ออกจากโรงเรียนเนื่องจากการตั้งครรภ์ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การทํางานเชิงบูรณาการใน 17 จังหวัด เกิดองค์ความรู้จํานวนมากและได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ จึงควรนําองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทุกจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้