ความเสี่ยงของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอยและประชาชนบริเวณสถานที่ฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความเสี่ยง, ผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอย, ประชาชน, สุขภาพ, สิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงของผู้ประกอบอาชีพเก็บมูลฝอยและประชาชน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) ผู้ประกอบอาชีพอิสระเก็บ/คัดแยกและรีไซเคิลมูลฝอย จำนวน 208 คน (2) ประชาชนบริเวณสถานที่ฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 585 คน โดยคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกรณีที่ทราบขนาดประชากร สุ่มตัวอย่างเป็นระบบตามสัดส่วนของประชากร ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2558 - พฤษภาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบอาชีพเก็บ/คัดแยกและรีไซเคิลมูลฝอย จำนวน 208 คน พบว่า ด้านการมีอาการรุนแรงจากการได้รับความเสี่ยง 3 อันดับแรก ได้แก่ บาดเจ็บรุนแรงจนต้องหยุดงานพักรักษาตัว พบแพทย์จากการทำงาน เช่น ตกรถโดนรถชน โดนกระแทก โดนของมีคมทิมแทงมากที่สุด รองลงมามีอาการรุนแรงจากสัตว์และแมลง ถึงขันไปพบแพทย์เช่น สุนัขที่คาดว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด งูมีพิษกัด และมีอาการปวดเมื่อย เจ็บตามกล้ามเนื้อหลังจากทำงานถึงขั้นหยุดงานไปพบแพทย์ ร้อยละ 9.1, 4.8 และ 3.8 ตามลำดับ และ (2) กลุ่มตัวอย่างประชาชนบริเวณสถานที่ฝังกลบ มูลฝอยเทศบาลนคร จำนวน 585 คน พบว่า ด้านความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม 2 อันดับแรก ได้แก่ ช่วง 1 ปีที่ผ่านมารอบบ้านมีจำนวนแมลง สัตว์นำโรคชุกชุมมากขึ้นผิดปกติ รองลงมา ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ชุมชนเคยเกิดเหตุไฟไหม้บ่อ มูลฝอย ร้อยละ 96.7 และ 96.2 ตามลำดับ ด้านความเสี่ยงทางสุขภาพที่พบมากที่สุดคือ ความกังวลใจว่าจะได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษรอบบ่อมูลฝอย ร้อยละ 95.3 เมื่อวิเคราะห์จัดกลุ่มพบว่า กลุ่มที่มีความเสี่ยงทาง สิ่งแวดล้อมระดับสูงและความเสี่ยงทางสุขภาพระดับต่ำ มีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 55.0 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการดังนี้ (1) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเก็บ/คัดแยกและรีไซเคิลมูลฝอยที่มีอาการรุนแรงจากการได้รับความเสียงควรได้รับการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงและรักษาโดยเร่งด่วนและส่งต่อเพื่อยืนยันผลความเสี่ยงต่อไป และ (2)กลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมระดับสูงและสุขภาพระดับต่ำ ควรติดตามผลการตรวจสิ่งแวดล้อมทุกปีหามาตรการจัดการปัญหามูลฝอยที่แหล่งกำเนิด รวมทั้งให้สุขศึกษาและคำแนะนำในการป้องกันตนเองแก่ประชาชน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.