การประเมินผลการรณรงค์ให้วัคซีนคอตีบ แก่ประชากรไทย กลุ่มอายุ 20 – 50 ปี พ.ศ. 2557–2558

ผู้แต่ง

  • รุ่งเรือง กิจผาติ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เวสารัช สรรพอาษา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • จุลจิลา หินจำปา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนวันต์ กาบภิรมย์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พอพิศ วรินทร์เสถียร อดีตนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การรณรงค์ให้วัคซีน, วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรณรงค์ให้วัคซีนคอตีบแก่ประชากรไทยในกลุ่มอายุ 20–50 ปี พ.ศ. 2557–2558 กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารระดับสูง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ และผู้รับผิดชอบการรณรงค์ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าสัดส่วน ค่าสถิติทดสอบไค-สแควร์ และค่าสถิติทดสอบ t-test ในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ผลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการรณรงค์ให้วัคซีนโรคคอตีบชัดเจน หน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติทั้งหมดเป็นหน่วยงานราชการ ได้รับการสนับสนุนโครงการเป็นอย่างดีจากรัฐบาล และผู้บริหารระดับสูง ด้านทรัพยากร วัคซีนมีเพียงพอ แต่งบประมาณในการปฏิบัติงานนอกเวลาไม่เพียงพอ บุคลากรในการปฏิบัติงานนอกเวลาไม่เพียงพอ การถ่ายทอดนโยบายจากผู้บริหารสู่ผู้ปฏิบัติยังมีช่องว่าง สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ไม่เพียงพอ ขาดการสื่อสารในวงกว้าง ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนภาพรวมทั้งประเทศ ร้อยละ 74.7 สัดส่วนผู้ป่ วยโรคคอตีบหลังการรณรงค์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p=0.001 ข้อเสนอเชิงนโยบายมีดังนี้ (1) การกำหนดนโยบายของการรณรงค์ฉีดวัคซีนควรมีระยะเวลาในการสื่อสารถึงระดับผู้นำนโยบายไปปฏิบัติล่วงหน้ามากพอสมควร (2) รูปแบบของการกำหนดนโยบายที่เป็นลักษณะการรณรงค์ขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ควรเน้นการสื่อสารมุมกว้างเพื่อให้เกิดกระแสผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติ ทั้งผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มเป้าหมาย (3) ระยะเวลาในการรณรงค์ฉีดวัคซีนควรมีระยะเวลาสั้นและชัดเจน (4) กระทรวงสาธารณสุขควรสนับสนุนการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ กลุ่มอายุ 20 ปี ขึ้นไป เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคทั่วประเทศทุกๆ 10 ปี เพื่อป้องกันการระบาดของโรคคอตีบในวงกว้าง (5) สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์และการให้บริการฉีดวัคซีนเชิงรุกเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามารับการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประชากรกลุ่มเป้าหมายอยู่ในวัยทำงาน ไม่สะดวกมารับวัคซีน ณ สถานบริการ ในวันธรรมดา (6) ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนคอตีบเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้ว เพื่อใช้ในการวางแผนให้วัคซีนต่อไป (7) ควรมีการบริหารจัดการงบประมาณโครงการรณรงค์ให้วัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อจัดสรรงบประมาณสู่หน่วยบริการที่ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และ (8) ควรมีการประสานหน่วยงานเครือข่ายภาคเอกชน และองค์กรอิสระ เข้าร่วมดำเนินการให้วัคซีนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-03-11

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้