การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 - 5 ปี ผ่านโปรแกรมการเล่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 7 และ 8

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ รอดชมภู ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • กาญจนา เหลืองอุบล ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • วันเพ็ญ ศิวารมย์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็ก 3-5 ปี, โปรแกรมการเล่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้โปรแกรมการเล่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อพัฒนาการเด็ก 3-5 ปี เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยรูปแบบการวิจัยแบบผสม (mixed method) ในศูนย์เด็กเล็กจาก 1 ตำบลของแต่ละจังหวัด รวม 9 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 และ 8 กลุ่มตัวอย่างคำนวณได้ 50 คนต่อ 1 ตำบล รวม 450 คน ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาสถานการณ์การใช้ของเล่นตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและ พัฒนาคู่มือโปรแกรมการเล่นเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 3 - 5 ปี รวมทั้งดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้ศูนย์เด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้โปรแกรมการเล่นเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ติดตามการใช้โปรแกรมฯ จัดประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้โปรแกรมการเล่น ประเมินผลกระบวนการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้งก่อนและหลังดำเนินการใช่โปรแกรมการเล่นในกลุ่มพื้นที่ทดลอง และพื้นที่เปรียบเทียบผลการดำเนินงานพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีนโยบายส่งเสริมให้ศูนย์เด็กเล็กใช้ภูมิปัญญาท้องถินส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุและ ผู้ปกครองเด็กสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ทำของเล่น มีส่วนร่วมในการเล่านิทาน การผลิตและซ่อมแชมของเล่น การแสดงดนตรีพื้นบ้านและหมอลำ เพื่อสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และฝึกเด็กรำไทยแบบศิลปะพื้นบ้าน ฝึกการละเล่นพื้นบ้าน ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยน วัสดุอุปกรณ์ของเล่นระหว่างศูนย์เด็กเล็ก มีการประยุกต์หรือปรับเปลี่ยนการเล่นเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กมากขึ้น มีการบูรณาการโปรแกรมการเล่นลงในกิจกรรมการเรียนรู้ประจำวันของเด็ก ครูมีการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กและการสื่อสารกับผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยความสำเร็จคือ การได้รับรู้ข้อมูลของการละเล่นตามภูมิปัญญา-ท้องถิ่นต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การมีส่วนร่วมคิด ร่วมดำเนินการและร่วมรับผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และผู้ปกครอง ผลการใช้โปรแกรมการเล่นพบว่า เด็กอายุ 3 - 5 ปี ในกลุ่มทดลองมีพัฒนาการสมวัยสูงกว่า ก่อนดำเนินการโดยก่อนดำเนินการมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 64.79 หลังดำเนินการมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80.09กลุ่มเปรียบเทียบมีพัฒนาการสมวัยช่วงก่อนดำเนินการ ร้อยละ 61.99 หลังดำเนินการร้อยละ 73.00 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ