การพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในจังหวัดพังงา
คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวชี้วัด, ความอยู่ดีมีสุข, ประชาชนจังหวัดพังงาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข และเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนพื้นที่จังหวัดพังงา พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ทั่วไป ออกแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงพรรณนา เก็บข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพังงามากกว่า 1 ปีขึ้นไปและมีอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 643 คน จำแนกเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวและพื้นที่ทั่วไปจำนวน 341 คน และ 302 คนตามลำดับ โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการโครงสร้างและยืนยันข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการบริหารงานของจังหวัดแบบบูรณาการจำนวน 8 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าองค์ประกอบตัวชี้วัด ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านครอบครัว ด้านสุขภาวะ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านธรรมาภิบาล นอกจากนี้แบบจำลอง ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนที่ผู้วิจัยพัฒนานั้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ผลการวิจัย พบอีกว่าความอยู่ดีมีสุขของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดพังงาและพื้นที่ทั่วไปมีความแตกต่างจากพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และข้อมูลมีความสอดคล้องกันทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.