First Major Abdominal Surgical Case of Full-blown AIDS in Thailand-ศัลยกรรมในผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นรายแรกในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Chana Tanchanpong
  • Paiboon Jivapaisarnpong

บทคัดย่อ

Abdominal pain in AIDS patients was not common, but some of these cases might be surgically correctable, as shown by the case in this report.

            A thin, Thai man, 49 years old, was infected with blood transmitted HIV in his second operation for bleeding duodenal ulcer. Two years later he developed full-blown AIDS, with chronic muco-cutaneous Herpes simplex virus infection of buccal mucosa and larynx.  He was admitted for several times within 2 subsequent years because of opportunistic infection and abdominal pain. In the last admission, he had abdominal pain, nausea and fatique. Hepatomegaly as well as epigastric tenderness was detected on examination. Ultrasonographic examination revealed multiple gall stones; and large antral and stomal ulcers were also found on gastroscopic examination. His clinical status was deteriorated, the abdominal pain had increased in intensity. Therefore, an operation was considered. Operative findings wereempyema gall bladder, antral and stomal ulcers. Cholecystectomy and subtotal gas-trectomy were done. His post operative days were uneventful and he was discharged on the 9th operative day.

            อาการปวดท้องในผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นพบได้ไม่บ่อย ในบางรายอาการปวดท้องอาจเกิดจากสาเหตุที่สาเหตุที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดดังรายงานผู้ป่วยต่อไปนี้

            ผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี ติดเชื้อไวรัสเอดส์จากการรับเลือดที่มีเชื้อเอดส์อยู่เพื่อทดแทนเลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนต้น 2 ปีต่อมา ผู้ป่วยมีการอักเสบจากการติดเชื้อ Herpes simplex virus ของปากและ larynx เข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้น จากนั้นผู้ป่วยก็เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายครั้งเป็นเวลา 2 ปี ครั้งหลังสุดมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้ ตรวจร่างกาย พบว่า ตับโต เจ็บบริเวณลิ้นปี่ ทำการตรวจด้วย ultrasound พบนิ่วในถุงน้ำดี และส่องกล้องตรวจกระเพาะ พบแผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องเป็นมากขึ้น จึงพิจารณาทำการผ่าตัด พบแผลในกระเพาะอาหารและถุงน้ำดีอักเสบเป็นหนอง ได้ทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารบางส่วนร่วมกับตัดถุงน้ำดีออก หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาการดีขึ้น ทานอาหารได้ ไม่มีโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด กลับบ้านได้ในวันที่ 9 หลังผ่าตัด

Downloads

Download data is not yet available.

เผยแพร่แล้ว

2019-03-22

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

Case Report