แนวทางการประมาณการกลุ่มประชากรซ่อนเร้นด้วยวิธี Network Scale-up ในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การติดเชื้อเอชไอวี, การประมาณจำนวนประชากร, วิธี network scale-upบทคัดย่อ
วิธี network scale-up เป็นวิธีการประมาณการจำนวนประชากรที่ช่อนเร้น ไม่เปิดเผย นับจำนวนได้ลำบาก (Hard-1o-count) หรือเข้าถึงยาก เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี สตรีที่ถูกข่มขืน ชายรักชาย ชายขายบริการ เด็กจรจัด เป็นต้น ซึ่งเป็น วิธีการที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ในการประมาณการจำนวนประชาชนเหล่านี้ เพื่อประมาณการจำนวนประชากรกลุ่มซ่อนเร้นที่เข้าถึงยาก ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดแบบฉีด กลุ่มชายรักชาย และกลุ่มหญิงบริการทางเพศ ในจังหวัด พิษณุโลก โดยวิธี network scale-up นั้น มีแนวคิดอยู่บนสมมติฐานที่ว่า คือ "คนที่คุณรู้จัก" โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้สำหรับประมาณการขนาดของประชากรซ่อนเร้น ผลการศึกษาพบว่า (1) เป็นผู้ชายอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน 6,849 ราย (2) หญิงบริการทางเพศ 473 ราย และ (3) ผู้เคยฉีดยาเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง 536 ราย วิธี network scale-up เป็นวิธีที่มีประโยชน์และประหยัดงบประมาณในการประมาณการจำนวนประชากรที่ช่อนเร้น นับจำนวนได้ลำบากหรือเข้าถึงยาก เพื่อการวางแผนหรือกำหนดนโยบายในการดูแลปัญหา ด้านสุขภาพของประชากรเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาในครั้งนี้ควรเพิ่มระยะเวลาการศึกษาให้มากขึ้นกว่าเดิมและอบรมผู้สัมภาษณ์ให้มีความเข้าใจในประเด็นคำถามต่าง ๆ อย่างชัดเจน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.