พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้มีเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วิไลรัตน์ ศิริศักดิ์ โรงพยาบาลลานสกา
  • สุปรีชา แก้วสวัสดิ์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ธัญญรัตน์ ศุภการนรเศรษฐ์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ยุวดี วิทยพันธ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้มีเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์, ยาต้านไวรัส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ 6 ด้านของผู้มีเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการในคลินิกโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 117 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำไปหาความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความสัมพันธ์ด้วย Spearman rank cotrelation coefficient ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีเชื้อเอชไอวี /ผู้ป่วยเอดส์ที่มารับริการในโรงพยาบาลมีระดับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 81.1 (mean=3.26, SD=0.38) ส่วนพฤติกรรมรายด้านพบว่า ด้านการบริโภคอาหารอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 69.2 (mean=3.40, SD=0.47) ด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 71.8 (mean=2.65, SD=0.74) ด้านการจัดการอารมณ์และการพักผ่อนคลายความเครียดอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลางร้อยละ 90.3 (mean=2.97, SD=0.57) ด้านอนามัย ส่วนบุคลและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 40.2 (mean=3.71, SD=0.52) ด้านอบายมุขและสารเสพติดอยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 53.0 (mean=2.33, SD=0.75 ) และด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับเหมาะสมดีร้อยละ 90.6 (mean=4.46, SD=0.99) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างระดับค่า CD กับพฤติกรรมสุขภาพ 6 ด้านของผู้มีเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่/ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ดูแลผู้มีเชื้อเอชไอวี /ผู้ป่วยเอดส์ควรมีการติดตามเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีโดยไม่หวัง พึ่งพิงยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจะช่วยให้มีร่างกายแข็งแรงและมีชีวิต ยืนยาวต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้