Effectiveness of the Control of Source of Venereal Diseases by Providing Transportation for Female Sex-Workers for Regular Check-up at STD&AIDS Center, Ratchaburi-ผลการควบคุมแหล่งแพร่กามโรค กรณีจัดรถยนต์บริการรับ-ส่งหญิงอาชีพพิเศษมาตรวจสุขภาพศูนย์กามโรคและโรคเอดส์เขต 4 ราชบุรี
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
The authors had studied the control of sources of venereal disease infection by studying the outcomes of a measure operated in 1992 that provided transportation for female sex-workers to attend the STD&AIDS Center of Ratchaburi for regular health check-up, and compared with the outcomes for 1991 when no such service provided. It was found that sex workers had attended the Center more frequently in 1992 than in 1991 (97.0% vs 79.3% and 3 times a week vs 2 times a week). The incidence of sexually transmitted disease (STD) infections was much lower for the year 1992 (3.6% vs 7.3%). The cost of transportation service was much less than the total budget spent by individual transportation to the clinic. This measure should be considered a very effective intervention for provincial STD control programme.
ได้ทำการวิเคราะห์ผลการควบคุมแหล่งแพร่กามโรคของศูนย์กามโรคและโรคเอดส์เขต 4 ราชบุรี กรณีจัดรถยนต์บริการรับ-ส่งหญิงอาชีพพิเศษมารับการตรวจสุขภาพในปี 2535 โดยเปรียบเทียบกับปี 2534 ที่กำหนดให้มารับการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ผลการวิเคราะห์พบว่า ในปี 2535 หญิงอาชีพพิเศษให้ความร่วมมือมารับการตรวจในอัตราที่สูงกว่าในปี 2534 คิดเป็นร้อยละ 97.0 และ 79.3 ตามลำดับ ความถี่ของผู้มารับการตรวจในปี 2535 เท่ากับ 3 ครั้งต่อคน และปี 2534 เท่ากับ 2 ครั้งต่อคน อัตราป่วยกามโรคในปี 2535ต่ำกว่าในปี 2534 อย่างชัดเจน คือเท่ากับ ร้อยละ 3.6 และ 7.3 ตามลำดับ ผู้สัมผัสโรคโรคประเภทที่ 1 ในปี 2535 มีจำนวนเป็นครึ่งหนึ่งของปี 2534 ค่าใช้จ่ายในส่วนที่หญิงอาชีพพิเศษจะต้องจ่ายเป็นค่าพาหนะเดินทางมาตรวจเองมากกว่าในกรณีที่ทางราชการจัดรถรับ-ส่ง ถึง 3 เท่า ส่วนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยต่อจำนวนผู้มารับการตรวจในกรณีที่จัดรถรับ-ส่ง น้อยกว่ากรณีที่กำหนดให้มาตรวจเองถึง 2 เท่า
การจัดรถบริการรับ-ส่งมีผลกระทบในด้านบวกต่อการควบคุมโรคทำให้อัตราป่วยกามโรคลดลงเป็นที่น่าพอใจและค่าใช้จ่ายในภาพรวมจะน้อยกว่าในกรณีกำหนดให้มาตรวจเองอย่างชัดเจน จึงเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมที่หน่วยงานกามโรคน่าจะได้พิจารณานำมาใช้ในการดำเนินงานควบคุมแหล่งแพร่ฯ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพต่อไป