Occupational Exposure to Antineoplastic Drugs in Medical Personnel at King Chulalongkorn Memorial Hospital in 2005 - การสัมผัสยาเคมีบำบัดในขณะปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปี ๒๕๔๘

ผู้แต่ง

  • Nara Kulawanwichit
  • Sarunya Hengpraprom

บทคัดย่อ

 

Abstract

           The objective of this cross-sectional descriptive study was to survey exposure to antineoplastic drugs among medical personnel at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Exposures were categorized into 4 steps; preparation, intravenous administration, contacting of excretions and cleaning. This study was carried out from May 9, 2005 to May 20, 2005. Questionnaires were distributed to 763 medical staffers. Results showed that 75.3 percent of the personnel have cared for patients associated with cancer. Frequency of their exposure to the drugs was approximately 1-2 days/week. The common personal protective equipment-PPE used were gloves, mask, googles, and apron, respectively according to the frequency of use. Preparation of antineoplastic drugs was occasionally carried out inside a class II biological laminar flow hood (42.9 percent). Exposure incidence mostly occurred during intravenous administration. Lack of knowledge on the health hazards of antineoplastic drugs and the use of PPEs were prevalent among this group of personnel.

Key words: antineoplastic drugs, medical personnel, personal protective equipment


บทคัดย่อ

          การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการสัมผัสยาเคมีบำบัดในบุคลากรฝ่ายการ พยาบาล ฝ่ายเภสัชกรรม และฝ่ายรังสีวิทยา รวมทั้งสิ้น ๓๑ หน่วยงานย่อย เก็บข้อมูลภายในระยะเวลา ๒ สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ ๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ พบว่า บุคลากรร้อยละ ๗๕.๓ เคยให้การพยาบาลและดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยเฉลี่ยประมาณ ๑-๒ วัน/สัปดาห์ ชนิดของเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้ในการปฏิบัติงานเรียงจากมากไปน้อย คือ ถุงมือยาง หน้ากาก แว่นตากันกระเด็น และเสื้อกาวน์ ตามลำดับ ประมาณร้อยละ ๔๒.๙ ของบุคลากรทำการเตรียมยาใน Class II biological laminar flow hood การสัมผัสยาโดยไม่ตั้งใจส่วนใหญ่เกิดขณะกำลังให้ยา นอกจากนั้นยังพบว่าบุคลากรที่ทำการพยาบาลและดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ขาดความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานและขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายหรือผลกระทบข้างเคียงของยาเคมีบำบัดที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ที่สัมผัส

คำสำคัญ: ยาเคมีบำบัด, บุคลากรทางการแพทย์, เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ