The Effectiveness of a Community Empowerment Training for Facilitators - ประสิทธิผลของการอบรมวิทยากรสร้างพลังชุมชน
บทคัดย่อ
Abstract
This was an evaluation research to find out changes in trainees' knowledge and attitude towards community empowerment for healthy city development and to measure level of satisfaction upon the 3-day training process using participatory learning technique. The methodology was one group pre and post test design. The sample size was 123 local authorities' and other related sectors' personnel in region 4 who were trained during June - July 2005. The data was collected by pre and post test and self-evaluation questionnaires and was analyzed by descriptive statistic and paired t-test.
The study found that the trainees had statistically significant increasing in knowledge and attitude towards community empowerment at p-value < 0.001 and 0.002 respectively. By self evaluation, they highly participated in all steps of the training. Also, they rated satisfaction towards the curriculum, contents, trainers and training management highly. Finally, they gained high and moderate confidence on planning and being facilitators of community empowerment respectively.
In conclusion, it should be widely utilized or adapted to build up facilitators' capability in other issues in community development. In addition, post training follow up, supervision, motivation andevaluation must be performed to ensure the highest effectiveness.
Key words: participatory learning, facilitators, community empowerment, healthy cities
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการอบรมด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในด้านผล สัมฤทธิ์ของความรู้และเจตคติต่อการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่ และความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรม โดยการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลสองครั้ง (one - group pre and post test design) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้เข้าอบรมที่เป็นตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เขต ๔ จำนวน ๑๒๓ คน ประเมินผลการฝึกอบรมโดยใช้แบบสอบถามความรู้และเจตคติก่อนและหลังการอบรม รวมทั้งแบบประเมินตนเองและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และฐานนิยม) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เป็นรายคู่ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม ๒๕๔๘
ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและเจตคติต่อการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๑ และ = ๐.๐๐๒ ตามลำดับ) การประเมินตนเองในการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างการอบรม อยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจในเรื่องหลักสูตร หัวข้อวิชา คณะวิทยากร และการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด รวมทั้งสามารถวางแผนจัดการอบรมการสร้างพลังชุมชน และสามารถเป็นวิทยากรสร้างพลังชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบในระดับมากและปานกลาง ตามลำดับ
ดังนั้น ควรจะได้ขยายผลหรือประยุกต์ใช้ในการพัฒนาวิทยากรสร้างพลังชุมชนในประเด็นอื่น ๆ ได้ และควรมีการติดตามประเมินผลหลังการอบรม รวมทั้งให้คำแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ที่ผ่านการอบรม เมื่อไปปฏิบัติจริงในพื้นที่และกระตุ้นให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มประสิทธิผลของการอบรม
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, วิทยากรกระบวนการ, พลังชุมชน, เมืองน่าอยู่