การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิศิษฐ์ พลธนะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • นภดล เลือดนักรบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
  • ภราดร ยิ่งยวด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, การคิดสร้างสรรค์, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษา และ (2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ ขั้นตอนการศึกษามี 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการณ์จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์นักศึกษา ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมากำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการสร้าง และกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบ ระยะที่ 3 การศึกษานำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษา ระยะที่ 4 พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยน-แปลง ระยะที่ 5 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบจาก (1) ความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ (2) ความพึงพอใจต่อรูปแบบ และ (3) รับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำนักศึกษา วิทยาลัยเครือข่ายภาคกลางและผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ผู้สอน (2) ประสบการณ์จริง (3) เครื่องมือการเรียนรู้ (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ (5) เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ โดยกระบวนการประกอบด้วยการเผชิญกับวิกฤติการณ์ การตรวจสอบตนเอง การประเมินสมมุติฐานเดิมของตนอย่างจริงจัง การเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง การค้นหาทางเลือกใหม่ การวางแผนการกระทำใหม่ การหาความรู้และทักษะสำหรับการปฏิบัติตามแผน การเริ่มทดลองทำตามบทบาทใหม่ การสร้างความสามารถและความมั่นใจในบทบาทใหม่ การบูรณาการความรู้ใหม่ การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า ความสามารถด้านการคิดสร้าง-สรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเพิ่มจาก 3.64 เป็น 4.42 และ 3.68 เป็น 4.51 ตามลำดับ นักศึกษามีความพึงพอใจระดับมาก ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบโดยเห็นว่าสามารถใช้ในการพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้