การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและสถานะสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

ผู้แต่ง

  • วรรณภา ประทุมโทน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พนารัตน์ เจนจบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราชสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สมตระกูล ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นันทวรรณ ธีรพงศ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการส่งเสริม, สถานะสุขภาพ, แบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สร้าง ตรวจสอบ พัฒนา ทดลองใช้ และประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพต่อสถานะสุขภาพและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรแบบมีส่วนร่วม การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาสถานะสุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง บุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ จำนวน 46 คน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพต่อสถานะสุขภาพของบุคลากรแบบมีส่วนร่วม บุคลากรจำนวน 46 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบและพัฒนารูปแบบฯ บุคลากร 104 คน ระยะที่ 4 การทดลองใช้และประเมินรูปแบบฯ บุคลากรจำนวน 104 คน และการถอดบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อวัดสถานะสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ (2) แนวทางการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบฯ (3) แนวทางการสนทนาอิงกลุ่ม (connoisseurship) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ (4) แบบวัดความเครียด และ (5) ประเด็นการถอดบทเรียน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired-t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าดัชนีมวลกายระดับอ้วน มีค่ารอบเอวเกิน และภาวะไขมันสูง มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีภาวะอ้วนลงพุงและเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง และมีความเครียดอยู่ระดับปานกลางและสูง การสร้างรูปแบบการส่งเสริม สุขภาพต่อสถานะสุขภาพแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ปัญหาแบบมีส่วนร่วม (2) การปรับกระบวนทัศน์ (3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ (4) ความมุ่งมั่นและมีกำลังใจในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ มีการตรวจสอบและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพดำเนินการโดยการนำเสนอรูปแบบการส่งเสริม-สุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ปรับปรุงและแก้ไข ได้รูปแบบการส่งเสริม สุขภาพด้วยการวิเคราะห์ปัญหาแบบมีส่วนร่วม การปรับกระบวนทัศน์ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การสร้างความมุ่งมั่นและกำลังใจในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ อาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และการงดเว้นสารเสพติด ผลการประเมินพบว่า พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตสูงขณะหัวใจบีบตัว ความดันโลหิตสูงขณะคลายตัวระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ความเครียด และพฤติกรรมสุขภาพ เปรียบเทียบมีลักษณะที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นโยบายการบริหารจัดการให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในสถานศึกษา ได้แก่ กิจกรรมการออกกำลังกาย อุปกรณ์การออกกำลังกาย สถานที่ออกกำลังกาย รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปี ชมรมออกกำลังกาย การณรงค์ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด ในระดับวิทยาลัย บูรณาการเรียนการสอนกับรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ