นวัตกรรมรถสระผมเคลื่อนที่ (Happy Hair Mobile) สำหรับผู้ป่วย โรงพยาบาลพังงา

ผู้แต่ง

  • ปราณี เพ็ชรคล้าย โรงพยาบาลพังงา จังหวัดพังงา
  • คมกริช เกื้อสกุล โรงพยาบาลพังงา จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

รถสระผมเคลื่อนที่ (happy hair mobile) สำหรับผู้ป่วย, การสระผม, โรงพยาบาลพังงา

บทคัดย่อ

การสระผมบนเตียงให้ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหว เป็นการดูแลสุขอนามัยที่สำคัญ วิธีการสระผมแบบเดิมมีความยุ่งยาก ใช้เวลานาน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนัก โรง-พยาบาลพังงาจึงผลิตนวัตกรรมรถสระผมเคลื่อนที่มาใช้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต การใช้และการประเมินนวัตกรรมรถสระผมเคลื่อนที่ในประเด็น (1) ลดระยะเวลาในการเตรียมและเก็บ อุปกรณ์สระผม (2)เพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังรับบริการ และ (3) เพิ่มความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่หลังให้บริการ ดำเนินการศึกษาโดยผลิตนวัตกรรมรถสระผมเคลื่อนที่พร้อมกับติดตั้งระบบเสียงให้ผู้ป่วยฟังระหว่างสระผม และทดสอบโดยประเมินเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยหนักจำนวน 18 คนสระผมให้ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือถูกจำกัดความเคลื่อนไหวจำนวน 30คน ด้วยรถสระผมเคลื่อนที่เปรียบเทียบกับการสระผมแบบเดิม เก็บข้อมูล ระหว่างเดือนกันยายน 2557 - เมษายน 2558 เครื่องมือที่ใช้ประเมิน คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ แบบบันทึกระยะเวลาการเตรียมและเก็บอุปกรณ์และปริมาณน้ำที่ใช้ในการสระผม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าสถิติ Wilcoxon Sighed Ranks Test ผลการศึกษาพบว่า (1) ระยะเวลาเฉลี่ยการเตรียมและเก็บอุปกรณ์ของการใช้รถสระผมเคลื่อนที่น้อยกว่าการสระผมแบบเดิมอย่างมีนัย- สำคัญทางสถิติ (p<0.05) (2) ปริมาณน้ำเฉลี่ยการสระผมของรถสระผมเคลื่อนที่น้อยกว่าการสระผมแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ (3) ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ด้านความสะดวกสบาย ด้านความสะอาด และด้านความปลอดภัยในการใช้รถสระผมเคลื่อนที่มากกว่าการสระผมแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือการพิจารณาลดราคาต้นทุนเครื่องมือในการสระผมบนเตียงให้ผู้ป่วยลงโดยลดคุณภาพของอุปกรณ์เพื่อเพิ่มจำนวนรถสระผมให้ทุกหอผู้ป่วย และหมอนรองศีรษะควรปรับระดับได้เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ