การตรวจพบ Gamma-Butyrolactone (GBL) และ 1,4-Butanediol (1,4-BD) ในของกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณปภา สิริศุภกฤตกุล สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ยุพา เมืองชุม สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • บงกช พันธ์บูรณานนท์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สาร gamma-butyrolactone, สาร 1,4-butanediol, สาร gamma-hydroxybutyrate, การใช้สารในทางที่ผิด, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

Gamma-butyrolactone (GBL) และ 1,4-Butanediol (1,4-BD) เป็นสารที่ใช้มากในอุตสาหกรรม และมีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกับ Gamma-hydroxybutyrate (GHB) หลังกินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็น GHB ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ พบมีการนำมาใช้ในทางที่ผิดในยุโรปเพื่อมอมยาและล่วงละเมิดทางเพศ มักใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ ทำให้เพิ่มฤทธิ์การกดระบบประสาทส่วนกลางมากขึ้น เกิดภาวะกดการหายใจ ไม่รู้สึกตัวและโคม่าในที่สุด จึงพบรายงานการเสียชีวิตมากในต่างประเทศ ในประเทศไทย GHB จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ส่วน GBL และ 1,4-BD จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ยังไม่มีการควบคุมตามอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 และการควบคุมทางกฎหมายแตกต่างกันในหลายประเทศ ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานการใช้ GBL และ 1,4-BD เพื่อเสพติดมาก่อนในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นแนวโน้มการใช้ GBL และ 1,4-BD ทดแทน GHB ที่มีการควบคุมทางกฎหมายที่เข้มงวดกว่าเพื่อหลีกเลี้ยงข้อกฎหมาย สำหรับเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด โดยศึกษาจากตัวอย่างของกลางที่ได้รับในปี พ.ศ. 2558-2559 เพื่อตรวจหา GHB ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ได้รับจำนวน 10 ตัวอย่าง มีลักษณะเป็นของเหลวใส ผลการตรวจ ตัวอย่างทั้งหมดไม่พบ GHB แต่พบ GBL และ 1,4-BD จำนวน 4 และ 6 ตัวอย่าง ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของ GBL และ 1,4-BD ทดแทน GHB ในประเทศไทยแล้ว และผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานทั้งด้านการปราบปรามและควบคุมกฎหมายเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดของประเทศต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ