ผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสติต่อความเข้มแข็งทางใจ ของผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีน

ผู้แต่ง

  • รุจิรา อาภาบุษยพันธุ์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สำเนา นิลบรรพ์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • นันธณา อินทรพรหม สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สมบัติ มากัน สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • อมาวสี กลั่นสุวรรณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม, การฝึกสติ, ความเข้มแข็งทางใจ, ผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีน

บทคัดย่อ

ปัญหาการกลับไปเสพยาซ้ำของผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนเกิดจากตัวของบุคคลเป็นสำคัญที่ยังไม่อาจสร้างความเข้มแข็งภายในตนเองให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำ การบำบัดความคิดและพฤติกรรมและการฝึกสติมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีการเรียนรู้และพัฒนาความเข้มแข็งทางใจ มีความตั้งใจที่จะไม่กลับไปเสพยาอีก ซึ่งการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเข้มแข็งทางใจและความตั้งใจในการป้องกันการติดซ้ำภายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสติและการบำบัดแบบปกติ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมและการบำบัดปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาระยะฟื้นฟูสมรรถภาพในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 116 คน ขณะทดลองมีผู้ออกจากการวิจัย 5 คน จึงเหลือ 111 คน โดยดำเนินการทดลองในกลุ่มควบคุมจนเสร็จสิ้นก่อนจึงดำเนินการในกลุ่มทดลอง เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ชุดคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสติ และ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจและความตั้งใจในการป้องกันการเสพซ้ำ ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา นำไปทดลองใช้และหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.80 และ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งทางใจ และความตั้งใจในการป้องกันการติดซ้ำสูงกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความเข้มแข็งทางใจ และความตั้งใจในการป้องกันการติดซ้ำแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้