ผลการติดตามการเจริญเติบโตทางร่างกาย และพัฒนาการของทารกคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต และปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า

ผู้แต่ง

  • การะเกด พันธุรัตน์ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
  • สัญญาลักษณ์ สุทธนะ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
  • ฉวีวรรณ วิหก หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่
  • อำภา วังคำ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

ทารกเกิดก่อนกำหนด, การเจริญเติบโต, พัฒนาการ, รูปแบบการดูแลที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารกเกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต และศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ทารกคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ทุกรายที่เคยเข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่ วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2557 จำนวน 340 ราย โดยติดตามการเจริญเติบโตทางร่างกาย พัฒนาการ การมองเห็นและการได้ยิน ในส่วนของการเจริญเติบโต ใช้เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุและน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของพัฒนาการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกระทรวงสาธารณสุข เก็บข้อมูลที่คลินิกติดตามสุขภาพทารกกลุ่มเสี่ยง จำนวน 293 ราย และโดยการติดตามที่บ้านหรือในชุมชน 47 ราย ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ordinal logistic regression ผลการติดตามการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการของทารกเกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ การเจริญเติบโตปกติ โดย น้ำหนักเทียบอายุ อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 87.4 ส่วนสูงเทียบอายุ อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 89.4 ภาวะโภชนาการปกติ โดยน้ำหนักเทียบส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 93.2 การมองเห็นปกติ ร้อยละ 97.9 และการได้ยินปกติ ร้อยละ 98.8 สำหรับพัฒนาการในภาพรวมปกติ ร้อยละ 89.4 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกเกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีพัฒนาการล่าช้า ได้แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดที่เกิดเมื่ออายุครรภ์ <32 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแรกเกิด <1,500 กรัม มีภาวะพร่องออกซิเจน ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจและได้รับออกซิเจนในระยะแรกเกิดการดูแลตามรูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต (developmental care model) ส่งเสริมให้ทารกเกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมวัย สูงกว่าการดูแลตามรูปแบบเดิมของปีงบประมาณ 2552 และสูงกว่าเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ จึงควรนำรูปแบบมาใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดทุกราย และควรให้ข้อมูลแก่ญาติบิดามารดาถึงผลต่อพัฒนาการ เพื่อการเฝ้าระวังพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มทารกที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน น้ำหนักตัวน้อย ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนหรือ ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ