ผลการใช้ท่านั่งมณีเวชต่อระดับความเจ็บปวด ระยะเวลาการคลอด และปริมาณการสูญเสียเลือดในผู้คลอดปกติ

ผู้แต่ง

  • กุลรัตน์ บริรักษ์วาณิชย์ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ไพรัตน์ จินดาจำนง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • เสาวรส ป้อมเย็น โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
  • เกตุวรา จันทร์หมื่น โรงพยาบาลศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
  • คำภา อยู่สุข โรงพยาบาลบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ธชวรรณ สีวัน โรงพยาบาลหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์ เขตสุขภาพที่ 2

คำสำคัญ:

มณีเวช, ระดับความปวด, ระยะเวลาคลอด, อัตราการตกเลือด, ผู้คลอดปกติ

บทคัดย่อ

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุการตายของมารดาหลังคลอดสูงถึงร้อยละ 24.0 มณีเวชเป็นหนึ่งในศาสตร์ของแพทย์ทางเลือกที่ผู้วิจัยนำมาให้ผู้คลอดใช้ขณะรอคลอด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพหุสถาบันในรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเจ็บปวด ระยะเวลาการคลอด ปริมาณการสูญเสียเลือดและการตกเลือดหลังคลอด ระหว่างผู้คลอดนอนรอคลอดปกติกับการใช้ท่านั่งมณีเวชขณะรอคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้คลอดปกติ 620 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมเป็นผู้คลอดนอนรอคลอดปกติ และกลุ่มทดลองเป็นผู้คลอดที่นั่งท่ามณีเวชขณะรอคลอด กลุ่มละ 310 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในผู้คลอดที่มารับบริการในงานห้องคลอดในโรงพยาบาลเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ 5 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ หล่มสัก หล่มเก่า ศรีเทพ และบึงสามพัน ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 – มิถุนายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบประเมินความเจ็บปวด คู่มือการปรับสมดุลร่างกายและท่านั่งมณีเวชขณะรอคลอดและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test, Chi-square test และ binary logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้คลอดที่ใช้ท่านั่งมณีเวชขณะรอคลอดมีระดับความเจ็บปวดต่ำกว่า และระยะเวลาการคลอดน้อยกว่ากลุ่มรอคลอดปกติเฉลี่ย 3.1 ชั่วโมง, 2.5 นาที และ 0.8 นาที ในระยะการคลอดที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ (p<0.05) ผู้คลอดที่ใช้ท่านั่งมณีเวชขณะรอคลอดมีปริมาณการสูญเสียเลือดในการคลอดน้อยกว่ากลุ่มนอนรอคลอดปกติเฉลี่ย 71.4 มล. (p<0.05) ระยะเวลาการคลอดระยะที่ 3 เพิ่มขึ้น 1 นาที เพิ่มโอกาสการตกเลือดหลังคลอด 1 เท่า น้ำหนักทารกเพิ่มขึ้น 1 กรัม เพิ่มโอกาสการตกเลือดหลังคลอด 1 เท่า และการนั่งท่ามณีเวชเป็นปัจจัยป้ องกันช่วยลดโอกาสการตกเลือดได้ร้อยละ 68.5 โดยสรุป การใช้ท่านั่งมณีเวชในผู้คลอดปกติช่วยลดความ เจ็บปวด ช่วยให้ปากมดลูกมีการเปิดขยายเร็วขึ้น จึงลดระยะเวลาคลอด ส่งผลให้ลดการสูญเสียเลือดและลดอัตราการตกเลือดหลังคลอด จึงควรขยายผลการนำท่านั่งมณีเวชไปใช้ในการดูแลผู้คลอดในหน่วยบริการสุขภาพทุกแห่ง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ