ประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลลำลูกกา

ผู้แต่ง

  • นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความพึงพอใจต่อโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้รูปแบบและกลุ่มไม่ใช้รูปแบบ กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและแบบทดสอบก่อนและหลังการให้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนการทดลอง และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) และเมื่อเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งนี้ กลุ่มทดลอง โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 87.5 และพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 12.5 ต่อการใช้รูปแบบดังกล่าว จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานดังกล่าวมีประสิทธิผลที่ดี ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ จึงควรนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยดังกล่าวมาใช้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ