ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์สำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ประเทศไทย ฉบับ 6.2

ผู้แต่ง

  • อรทัย เขียวเจริญ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
  • สุเมธี เชยประเสริฐ ส่วนงานมาตรฐานและการบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุข
  • ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

คำสำคัญ:

ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์, กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2

บทคัดย่อ

ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เป็นค่ามาตรฐานที่สำคัญที่สุดของการจ่ายเงินสำหรับบริการผู้ป่วยใน ด้วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เพราะหากค่าน้ำหนักสัมพัทธ์มาก หมายถึงเงินที่ได้รับชดเชยจะมากตามไปด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายขั้นตอนการคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ สำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมประเทศไทย ฉบับ 6.2 ซึ่งประกาศใช้ในปี 2561 โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยในปีงบประมาณ 2557-2559 จากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 1,254 แห่ง ในระบบประกันสุขภาพภาครัฐสามระบบหลัก รวม 21,793,421 ราย แบ่งเป็น กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 80.8) กองทุนประกันสังคม (ร้อยละ 9.5) และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (ร้อยละ 9.7) การคำนวณแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ การตรวจสอบข้อมูลพบข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลค่าใช้จ่ายที่สมบูรณ์ ร้อยละ 69.7 (15,192,170 ราย) ขั้นตอนที่ 2 การคำนวณค่ารักษามาตรฐานโดยใส่ค่าห้องค่าอาหารมาตรฐานที่ได้จากการคำนวณแทนและตัดค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ที่แยกเบิกต่างหาก ขั้นตอนที่ 3 การตัดข้อมูลผู้ป่วยที่มีค่ารักษาเกินจากค่าเฉลี่ยไปมาก ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบค่ารักษาเฉลี่ยในกลุ่มโรคที่พบบ่อย และพบในทุกกลุ่มโรงพยาบาล ในขั้นตอนที่5 จึงคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์จากค่ารักษาเฉลี่ยของผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเทียบกับค่ารักษาเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด และปรับค่าน้ำหนักให้เหมาะสมอีกครั้งในขั้นตอนที่ 6 ได้ค่าเฉลี่ยค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ 1 และปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์อีกครั้ง เพื่อให้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมฉบับใหม่มีค่าเท่ากับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมฉบับเดิมในขั้นตอนที่ 7 โดยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ฉบับ 6.2 ได้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ต่ำสุด เท่ากับ 0.1878 สูงสุดเท่ากับ 79.4635 จะเห็นได้ว่าการคำนวณค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ควรใช้ข้อมูลการใช้ทรัพยากรรายบุคคลที่เป็นตัวแทนที่ดีของโรงพยาบาลทุกระดับและทุกกลุ่มโรคเพื่อให้ได้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สะท้อนการใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลได้อย่างแท้จริง และควรมีการศึกษาต้นทุนรายโรค ด้วยวิธีมาตรฐานในโรงพยาบาลทุกระดับเพื่อนำมาพัฒนาค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ให้สะท้อนต้นทุนการบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในที่แท้จริง สำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยฉบับต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 3 > >>