การศึกษาอัตราการใช้โลหิต และการลดค่าใช้จ่าย ในการเตรียมโลหิตแบบ Type and Screen ในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กมลเนตร พินทะปะกัง งานธนาคารโลหิต กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

บริการโลหิต, การเตรียมโลหิตด้วยวิธี type and screen, การเตรียมโลหิตด้วยวิธี crossmatch, โรงพยาบาลมหาสารคาม

บทคัดย่อ

งานธนาคารโลหิต กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้นำวิธีการเตรียมโลหิตแบบ Type and Screen (T&S) ซึ่งมีการตรวจหมู่โลหิตและตรวจกรองแอนติบอดีเท่านั้นไม่มีการเตรียมโลหิต มาใช้ในหอผู้ป่วยในโครงการ ได้แก่ หอผู้ป่วยตาหูคอจมูก นรีเวชกรรม ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ สูติกรรม ห้องคลอด ศัลยกรรมกระดูกหญิง และศัลยกรรมกระดูกชาย เพื่อช่วยลดการเตรียมโลหิตที่มากเกินความจำเป็นใช้จริง ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการจัดหาและเตรียมโลหิต ลดโลหิตหมดอายุจากการจองโดยไม่ใช้ วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเตรียมโลหิตแบบ Type and Screen (T&S) กับการเตรียมโลหิตแบบปกติ (crossmatch) ในหอผู้ป่วยในโครงการเตรียมโลหิตแบบ T&S โรงพยาบาลมหาสารคาม ใน พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2559 ในหอผู้ป่วยตาหูคอจมูก นรีเวชกรรม ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ สูติกรรม ห้องคลอด ศัลยกรรมกระดูกหญิง และศัลยกรรมกระดูกชาย ผลการศึกษาพบว่า งานธนาคารโลหิตได้เตรียมโลหิตให้ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในโครงการเตรียมโลหิตแบบ T&S เพื่อทำหัตถการต่างๆ ในปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 ในช่วง 3,416 ถึง 4,082 ยูนิต ส่วนการเตรียมโลหิตแบบ crossmatch มีจำนวน 3,149 ถึง 5,756 ยูนิต อัตราการใช้โลหิตที่เตรียมแบบ T&S ในทุกหอผู้ป่วยในโครงการใน พ.ศ. 2556 - 2559 อยู่ในช่วงร้อยละ 1.12 - 50.00 และพบว่า การ เตรียมโลหิตแบบ T&S สามารถลดจำนวนโลหิตที่ต้อง crossmatch ลง 3,362 - 3,930 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 39.37 - 51.21 ของการเตรียมโลหิตทั้งหมด การเตรียมโลหิตแบบ T&S สามารถลดค่าใช้จ่าย 504,300 – 589,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 23.20 -36.46 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเตรียมโลหิตแบบปกติ (crossmatch)ตามลำดับ จึงควรมีการนำไปใช้กับหอผู้ป่วยอื่นที่มีอัตราการใช้โลหิตน้อยกว่าร้อยละ 50.00 ของการเตรียมโลหิต และควรมีการสำรองโลหิตที่เพียงพอต่อการใช้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ