สถานภาพการพัฒนาประเทศและสุขภาพของประเทศไทยในระดับโลกและเอเชีย

ผู้แต่ง

  • ชัยพร สุชาติสุนทร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • สุมาภรณ์ แซ่ลิ่ม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดอันดับ, การจัดระดับ, แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง, ดัชนีการพัฒนาประเทศและสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาประเทศและสุขภาพของประเทศไทยในระดับโลกและเอเชีย รองรับเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพของประเทศไทยให้เป็น 1 ใน 3 ของเอเชียภายใน พ.ศ. 2575-2579 ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579)โดยศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานปี 2561 ใน 5 แหล่งที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งมีการจัดลำดับ ระดับ และแนวโน้มการพัฒนาประเทศและสุขภาพในระดับโลก พบว่า ประเทศไทยมีสถานภาพการพัฒนาประเทศและสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ คือ ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม ติดอันดับที่ 70 (67.35 คะแนน) ส่วนการพัฒนาทางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ติดอันดับที่ 46 ของโลก (70.02 คะแนน) ดัชนีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนติดอันดับ 59 (69.2 คะแนน) ยกเว้นเป้า-หมายที่ 3 สุขภาพที่ดี/สุขภาวะ ได้ 76.7 คะแนน ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศในเอเชีย 20 ประเทศ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ติดอันดับที่ 83 (0.755 คะแนน) ระดับค่อนข้างดีคือ ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ติดอันดับที่ 38 (67.5 คะแนน) ส่วนการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านสุขภาพ ติดอันดับที่ 42 (87.3 คะแนน) ดัชนีความสุข ติดอันดับที่ 46 (6.072 คะแนน) โดยประเทศไทยมีค่าคะแนนที่สูงกว่าค่ากลาง (ค่าเฉลี่ยและมัธยฐาน) ของเอเชีย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะการพัฒนาสุขภาพเทียบกับเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของเอเชีย ปัจจุบันประเทศไทยบรรลุเป้าหมายเพียง 2 ดัชนี คือ ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก และดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม จากการจัดอันดับและคะแนนมีประเทศในเอเชียที่ดีกว่าประเทศไทยเฉพาะดัชนีเกี่ยวกับสุขภาพในทั้ง 3 ดัชนี 8 ประเทศ (สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น กาตาร์ ไซปรัส อิสราเอล คูเวต เลบานอน) และการพัฒนาประเทศโดยรวมทั้ง 5 ดัชนี 3 ประเทศ (มาเลเซีย สิงคโปร์ อิสราเอล) ส่วนผลจากการพัฒนาทำให้ปัจจุบันคนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีเมื่อแรกเกิด 74.9 ปี โดยมีปัญหาสุขภาพที่ได้รับการพัฒนาได้ดีขึ้นเกี่ยวกับการดูแลแม่และเด็ก มีหลักประกันสุขภาพ เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาค่อนข้างมากทางด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มลพิษทางอากาศ ความชุกผู้ติดเชื้อ HIV ในผู้ใหญ่ เด็กแคระแกร็น ส่วนที่พัฒนาได้ไม่ค่อยดียังคงเป็นปัญหารุนแรงมากและท้าทายการพัฒนาของประเทศไทย ได้แก่ อุบัติเหตุจราจร วัณโรค ฆ่าตัวตาย การถูกทำร้าย การคลอดในวัยรุ่น ทารกที่ให้นมแม่เท่านั้น และแพทย์ เตียงในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ