โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของความครุ่นคิดในวัยแรงงานไทยที่มีภาวะซึมเศร้า
คำสำคัญ:
การครุ่นคิด, ภาวะซึมเศร้า, องค์ประกอบเชิงยืนยัน, วัยแรงงานบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการครุ่นคิดในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าวัยแรงงานไทย เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกันและการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต 5 คน และผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าที่มีคะแนนการคัดกรองด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม หรือ 9Q มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อยขึ้นไป จำนวน 540 คน ซึ่งวิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น (probability sampling) แบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามการครุ่นคิดวัยแรงงานประเทศไทย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.908 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสกัดองค์ประกอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับแรก และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการครุ่นคิดในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าวัยแรงงานไทย มีจำนวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบการครุ่นคิดเกี่ยวกับสภาวะ องค์ประกอบการครุ่นคิดเกี่ยวกับการกระทำ และการครุ่นคิดเกี่ยวกับเป้าหมายที่ไม่สามารถไปถึงได้ ซึ่งมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ X2/df เท่ากับ 1.402 ค่า root mean square error of approximation (RMSEA) เท่ากับ 0.027 ค่า p-value เท่ากับ 0.141 ค่า comparative fit index (CFI) เท่ากับ 0.999 ค่า goodness of fit index (GFI) เท่ากับ 0.994 ค่า adjusted good-ness of fit index (AGFI) เท่ากับ 0.967 ค่า standardized root mean square residual (SRMR) เท่ากับ 0.020 ค่า normed fit index (NFI) เท่ากับ 0.997 แต่ละองค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.955–1.139
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.