การออกกำลังกายกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหญิง

ผู้แต่ง

  • พรธิภา ไกรเทพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กุหลาบ รัตนสัจธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อนามัย เทศกะทึก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธารารัตน์ ตาตะนันทน์ ภาควิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยเสี่ยง, ภาวะสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การออกกำลังกายกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้สูงอายุหญิง อายุ 60-69 ปี จำนวน 192 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย 6 ลักษณะที่ศึกษา ลักษณะละ 3 กลุ่มๆ ละ 8 คน รวม 144 คน และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ออกกำลังกายอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับกลุ่มที่ออกกำลังกายทั้ง 6 ลักษณะๆ ละ 8 คน จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก และแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ร้อยละ ไคว์สแคว์ และอัตราส่วนออดส์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ออกกำลังกายสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย คือ ลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ 4.75 เท่า (95%CI=1.43-15.75) ลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 2.18 เท่า (95%CI=1.00-4.78) และลดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ 3.23 เท่า (95%CI=1.64-6.35) เมื่อพิจารณาตามลักษณะของการออกกำลังกาย พบว่า กลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยลีลาศและรำไม้พลอง สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ 6.3 เท่า (95% CI=1.33-30.10) และ 5.94 เท่า (95% CI=1.24-28.39) ตามลำดับ และกลุ่มที่รำวงย้อนยุคสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและโรคเบา-หวาน 1.17 เท่า (95%CI=1.04-1.32) และ 1.14 เท่า (95%CI=1.03-1.27) ตามลำดับ ดังนั้นควรมีการสนับสนุนการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นการปรับปรุงความหนักให้เหมาะสมกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้