การใช้ motor response (M score) ทำนายผลการรักษาและคัดแยกผู้ป่วยบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุริยะ ปิยผดุงกิจ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

severe traumatic brain injury, Glasgow coma scale, Glasgow outcome scale, motor response

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ motor response ใน Glasgow Coma Scale (M score) ทำนายผลการรักษาและคัดแยกผู้ป่วยที่มีพยากรณ์โรคดี-เลว กรณีบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรงนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลรักษาที่ดี การศึกษานี้ครอบคลุมถึงความสำคัญของหอผู้ป่วยหนักต่ออัตรารอดของผู้ป่วย เป็นการศึกษาย้อนหลัง ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรง (severe TBI) 214 ราย ที่รับไว้ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าระหว่างเดือนตุลาคม 2558- กันยายน 2561 ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรง (GCS score 3-8) ส่วนผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ปานกลางและบาดเจ็บเล็กน้อย (M score 6, GCS scores 9-12 และ 13-15) ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบจนเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ(hypovolemic shock) ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจนเป็นอัมพาต ผู้ป่วยแขนขาหักหลายท่อนไม่นับรวมในการศึกษานี้ แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม M1-M3 และกลุ่ม M4-M5 แต่ละกลุ่มรับไว้ทั้งในหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยสามัญโดยไม่มีอคติขึ้นกับสภาวะเตียงที่มีในหอผู้ป่วยหนักขณะรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่ม M1-M3 มีผลการรักษาต่ำกว่ากลุ่ม M4-M5 (อัตราตายร้อยละ 88.1, GOS 4-5 ร้อยละ 3.6 เทียบกับอัตราตายร้อยละ 26.9, GOS 4-5 ร้อยละ 60.0, p<0.01) ผู้ป่วยที่รักษาในหอผู้ป่วยหนักมีผลการตายต่ำกว่า (อัตราตายในหอผู้ป่วยหนักร้อยละ 81.0 เทียบกับหอผู้ป่วยสามัญ ร้อยละ 95.2, p<0.01 ในกลุ่ม M1-M3 และร้อยละ 11.9 เทียบกับร้อยละ 42.9 ในกลุ่ม M4-M5, p<0.01). ดังนั้น motor response (M score) สามารถใช้ทำนายผลการรักษาและคัดแยกผู้ป่วยที่พยากรณ์โรคดีกรณีบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งหอผู้ป่วยหนักมีความจำเป็นต่ออัตรารอดของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรงโดยเฉพาะ M score 4-5 ควรได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักเพื่อเพิ่มอัตรารอดและได้ผลรักษาที่ดี การผลักดันให้เพิ่มปริมาณเตียงในหอผู้ป่วยหนักจนเพียงพอต่อปริมาณผู้ป่วยบาดเจ็บสมองอย่างรุนแรงหรือการคัดแยกผู้ป่วยตามพยากรณ์โรคโดยใช้ M score โดยเฉพาะ M4-M5 เพื่อวางแผนการรับเข้าหอผู้ป่วยหนักและวางแผนรักษาที่เหมาะสมในภาวะที่มีปริมาณเตียงในหอผู้ป่วยหนักจำกัด จะเป็นการลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ