ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต ของผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ธีระวัฒน์ โพธิ์วัฒน์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุธรรม นันทมงคลชัย ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภชัย ปิติกุลตัง ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การประสบความสำเร็จในชีวิต, ผู้สูงอายุ, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนการประสบความสำเร็จในชีวิตของผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 340 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีสัดส่วนการประสบความสำเร็จในชีวิตร้อยละ 40.0 และผู้สูงอายุปกติร้อยละ 60.0 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ การเข้าถึงบริการสุขภาพ รายได้ของผู้สูงอายุ และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยผู้สูงอายุที่เข้าถึงบริการสุขภาพมากมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตเป็น 15 เท่าของผู้สูงอายุที่เข้าถึงบริการสุขภาพน้อย ผู้สูงอายุที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมมากจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตเป็น 5.6 เท่าของผู้สูงอายุที่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมน้อย และผู้สูงอายุที่มีรายได้มากกว่า 5,001 บาทขึ้นไปมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตคิดเป็น 2.8 เท่าของผู้สูงอายุที่มีรายได้ระหว่าง 500-5,000 บาท การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพต่อผู้สูงอายุ แรงสนับสนุนทางสังคม และ จัดสวัสดิการเรื่องรายได้ผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลและพึ่งตนเองได้ และสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้