การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพของเยาวชน ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สุปรีชา แก้วสวัสดิ์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พัฒนศักดิ์ คำมณีจันทร์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ดลรวี แวเยง สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ธัญญรัตน์ ศุภการนรเศรษฐ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ปานชนม์ โชคประสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, การประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนตำบล เกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์แบบสร้างสรรค์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม วางแผนแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนร่วมกับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย (1) กลุ่มเยาวชน จำนวน 40 คน และ (2) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนครู โรงเรียนประถมศึกษา ตัวแทนครู โรงเรียนมัธยมศึกษาขยายโอกาส ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แกนนำผู้ปกครอง คัดเลือกแบบเฉพาะ เจาะจง ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะการวางแผน ระยะปฏิบัติการ ระยะสังเกตผลการปฏิบัติงาน และระยะ สะท้อนกลับผลการดำเนินงาน ระยะเวลาศึกษา 2 ปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – พฤศจิกายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา อธิบายตีความ และสร้างข้อมูลสรุป ผลการศึกษาพบว่าบริบทชุมชนตำบล เกาะลิบง อำเภอกันตัง มีพื้นที่ปกครอง จำนวน 8 หมู่บ้าน สภาพภูมิอากาศ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและร้อน จำนวน หลังคาเรือน 1,798 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 7,028 คน เป็นเพศชาย 3,595 คน และเพศหญิง 3,433 คน ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก มีสถานศึกษาจำนวน 13 แห่ง ส่วนการพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการสร้างเสริมสุข ภาพในชุมชนพบว่า การประชุมที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันเพื่อจัดทำแผนเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้ เข้าร่วมประชุมได้มีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ก่อให้เกิดโครงการสร้างสุขภาวะเยาวชน ครอบคลุม 4 ด้าน คือ สุขภาวะกาย จิต สังคม และวิญญาณ จำนวน 9 โครงการ ผลการถอดบทเรียนหลังจากการจัดกิจกรรมพบ ว่าการศึกษานี้มีแนวทางการพัฒนาแบบ CIPERC Guideline ที่สามารถนำไปใช้กับการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพ เยาวชนพื้นที่เกาะได้อย่างเหมาะสมแต่ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ การพัฒนาที่ดี ควรคำนึงถึงทุนทางสังคมที่ชุมชนมีอยู่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการกับปัญหา และความต้องการของ ชุมชน เช่น ความสามัคคีของชุมชน และความเป็นอัตลักษณ์ของวิถีชีวิตดั้งเดิม จะเป็นปัจจัยหล่อหลอมเยาวชนได้ดี

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้