การพัฒนารูปแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบบูรณาการในพื้นที่

ผู้แต่ง

  • ธีระ ศิริสมุด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นนทบุรี
  • พรทิพย์ วชิรดิลก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นนทบุรี
  • อนุรัตน์ สมตน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นนทบุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต, การแพทย์ฉุกเฉิน, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบบูรณาการในพื้นที่เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการค้นหาสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรคของระบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลและระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบดังกล่าว โดยมุ่งหวังให้ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสุขภาพจิตเข้าถึงบริการระบบนี้มากขึ้น วิธีการศึกษาใช้การสนทนากลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยและญาติ ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพ หน่วยงานอื่นหรือภาคประชาชน และผู้บริหารในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน อุดรธานี ราชบุรี และสุราษฎร์ธานี ดำเนินการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) วิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และวิเคราะห์ต้นทุนทางสังคมในการจัดการ หรือโอกาสพัฒนาที่มีอยู่ในพื้นที่ และ (2) แลกเปลี่ยนข้อมูลและระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสุขภาพจิต ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่าทุกพื้นที่มีปัญหาด้านศักยภาพและความพร้อมด้านทักษะของผู้ป่วย/ญาติ แบบแผนการจัดการของชุมชน รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำรวจ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ความผิดพลาดในการคัดแยกทางโทรศัพท์ ความไม่พร้อมในโรงพยาบาล เช่น ไม่มีห้องหรือมุมเฝ้าสังเกตอาการเฉพาะ โรงพยาบาลจิตเวชหลายแห่งไม่มีระบบช่องทางด่วน/ปฏิเสธรับผู้ป่วยไว้รักษา ระดับนโยบายพบปัญหาการจัดการเชิงระบบที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามพบว่าบางจังหวัด/บางพื้นที่มีแนวทางปฏิบัติหรือกลวิธีดำเนินงานที่ดี ซึ่งภายหลังการระดมความคิดเห็น พบว่า แนวทางการพัฒนารูปแบบบูรณาการฯ ควรประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก ได้แก่ (1) พัฒนาศักยภาพการดูแลของผู้ป่วยจิตเวช/กลุ่มเสี่ยง/ญาติ (2) พัฒนาศักยภาพการเป็น “ชุมชนจัดการตนเอง” ที่ประกอบด้วยบุคลากรและหน่วยงานในพื้นที่ (3) พัฒนาระบบการจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด ได้แก่ การแจ้งเหตุและให้คำปรึกษา การประเมินและควบคุมสถานการณ์ ระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและระบบการส่งต่อทุกระยะ พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบนำส่งผู้ป่วยในช่องทางพิเศษ (4) พัฒนา “โรงพยาบาลจัดการตนเองในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติสุขภาพจิต” และ (5) การบูรณการและวางแผนระบบการจัดการร่วมกันของหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ดังนั้น เสนอให้หน่วยงานระดับนโยบายและระดับพื้นที่นำแนวทางการพัฒนา รูปแบบบูรณาการฯ นำไปสู่การปรับและทดลองใช้ รวมทั้งควรติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้