นวัตกรรม “ฟิล์มปิดตาสำหรับทารกแรกเกิด ที่ได้รับการส่องไฟรักษา”

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา สุภาพเพชร หอผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • สุภาพร ขานดี หอผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • มาลินันท์ พิมพ์พิสุทธิพงศ์ หอผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ฟิล์มปิดตาทารก, ทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟรักษา, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

ภาวะตัวเหลืองเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะเยื่อสมองถูกทำลายที่จะส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการล่าช้า สติปัญญาลดลง และเมื่อเกิดแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาที่สำคัญ คือการส่องไฟรักษา และในการส่องไฟรักษา อุปกรณ์ที่สำคัญในการใช้คือ อุปกรณ์ปิดตาทารก (ฟิล์มปิดตา) ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะจอประสาทตาถูกทำลาย (retinal damage) ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง และความผิดปกติทางระบบประสาท จึงได้พัฒนาฟิล์ม- ปิดตาทารกขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภาวะจอประสาทตาถูกทำลาย ป้องกันความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง และความผิดปกติทางระบบประสาท โดยใช้ฟิล์มปิดตาทารกที่ประกอบจากอุปกรณ์ คือ หมวกคลุมผม (ที่ใช้ในการทำหัตถการในห้องผ่าตัดสำหรับใช้แล้วทิ้ง) 1 ใบ กระดาษทึบแสงตัดขนาด S, M, L เข็ม ด้าย กรรไกร ได้ฟิล์มปิดตาทารก 1 ชิ้นในราคาชิ้นละ 1.88 บาท เพื่อนำไปเป็นอุปกรณ์ปิดตาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่ต้องได้รับการส่องไฟรักษาทุกราย และเปลี่ยนฟิล์มปิดตาทุก 8 ชั่วโมง หรือเมื่อเปื้ อนสกปรก ผลการใช้ฟิล์มปิดตาทารกฯ ติดตามทารกในกลุ่มที่ใช้ฟิล์มปิดตาทารก หลังจำหน่าย 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนไม่พบภาวะจอประสาทตาถูกทำลาย ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง และไม่เกิดพิษจาก bilirubin คิดเป็นร้อยละ 100.00 มารดาและผู้ดูแลมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ร้อยละ 97.27) และลดต้นทุนการผลิตลง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ