สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาดอกไม้ 3 ชนิดในจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ชาดอกไม้, อัญชัน, สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบทคัดย่อ
ชาเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เหมาะแก่การนำมาดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยซึ่งมีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระภายในและภายนอกร่างกาย ปัจจุบันพบว่ามีดอกไม้หลายชนิดสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ จึงมีการนำดอกไม้มาทำเป็นชามากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟี นอลิกทั้งหมด รวมถึงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาดอกไม้ทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ อัญชัน แคแดง และงิ้วป่า ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric และ DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) radical scavenging activity assay ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า ชนิดของชาดอกไม้มีผลต่อปริมาณสารประกอบฟี นอลิกทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชาจากดอกอัญชันมีปริมาณสารประกอบฟี นอลิกทั้งหมดสูงสุด เท่ากับ 33.16±0.54 mg GAE/g รองลงมาคือ ชาจากดอกงิ้วป่าและชาจากดอกแคแดง ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า ชาดอกไม้แต่ละชนิดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชาจากดอกอัญชันมีร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH (% DPPH radical scavenging activity) สูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 39.47±1.78 และ มีค่า IC50 เท่ากับ 14.41±0.95 mg/ml จากข้างต้นสรุปได้ว่า ดอกอัญชันมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีและมีปริมาณสารประกอบฟี นอลิกทั้งหมดสูง อย่างไรก็ตามในการนำดอกอัญชันมาผลิตเป็นชาควรมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางด้าน GAP และ GMP ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและนำไปสู่การค้าเชิงพาณิชย์ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.