กระบวนการพัฒนางานวิจัยเครือข่ายบริการสุขภาพยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กาญจนา จันทะนุย โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • ชญาณิศา ปินะถา โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • ภาคภูมิ อินทร์ม่วง โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • กำทร ดานา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนรังรัง จังหวัดมหาสารคาม
  • ผดุงศิษฎิ์ ชำนาญบริรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กระบวนการ, พัฒนา, งานวิจัย, การจัดการความรู้, การเสริมพลังเชิงบวก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการพัฒนางานวิจัยและประเมินผลกระบวนการพัฒนางานวิจัยเครือข่ายบริการสุขภาพยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาศึกษา ปี 2557-2560 ดำเนินการโดยคัดเลือกผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิจัย หัวหน้างาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อนร่วมงานนักวิจัย รวม 85 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถาม แบบประเมิน after action review แบบสังเกต แบบบันทึกภาคสนาม แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินทัศนคติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย จำนวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าและใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนางานวิจัยที่เหมาะสมตามบริบทพื้นที่คือ การจัดกระบวนการ knowledge management (KM) ร่วมกับการเสริมพลังเชิงบวก (appreciative inquiry) ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำวิจัยโดย facilitator ค้นหาสิ่งดีๆ ในงานผ่านการเล่า การเขียน จัดเวทีถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุนแหล่งความรู้วิชาการ สร้างไลน์กลุ่ม เพื่อสร้างการเรียนรู้ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้นักวิจัยเล่าความรู้สึกภายหลังเรียนรู้ด้วยตนเองในสิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่ต้องพัฒนาและซ้อมนำเสนอ ติดตามสังเกตดูแลนักวิจัย ร่วมให้กำลังใจช่วยเหลือกันในทีม จัดเวที KM เพื่อให้นักวิจัยเกิดการพัฒนาเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า (1) นักวิจัยมีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนางานวิจัยอยู่ในระดับมาก ภายหลังเข้าร่วมโครงการนักวิจัยมีทัศนคติต่อการทำวิจัยมากกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เกิดนักวิจัยหน้าใหม่ 35 คน เกิดผลงานวิจัย 77 เรื่อง ตีพิมพ์ 12 เรื่อง (2) มีการขยายผลการทำวิจัยในทุกหน่วยงาน เกิดทีมวิจัยที่เข้มแข็ง เกิดภาคีเครือข่ายด้านวิชาการที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดการกำเริบของโรค เพิ่มการเข้าถึงบริการผู้ป่วย (3) นักวิจัยเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและสร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยงาน เกิดการพัฒนาคู่มือ แนวปฏิบัติ และนวัตกรรมที่พัฒนาต่อเนื่องจากงานวิจัย เป็นแหล่งศึกษาดูงานของจังหวัดและเขต กระบวนการที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ดี มีการจัดบริการที่เหมาะสมและเกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ