การสอบสวนกรณีผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ดื้อยา หลายขนานชนิดรุนแรงมาก โดยใช้พระราชบัญญัติโรค ติดต่อ พ.ศ. 2558 ในเขตสุขภาพที่ 6 ปี 2561

ผู้แต่ง

  • ลานทิพย์ เหราบัตย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • ณัฐธิสา บุญเจริญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • ฐาณิญา แสนศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • ประภา วัฒนชีพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • รัชนี ทำจำรัส โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
  • พัชรินทร์ เพ็งผลา โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก, พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558, เขตสุขภาพที่ 6

บทคัดย่อ

ทีมตระหนักรู้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี ได้รับแจ้งจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านการ ควบคุมโรคสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรีว่าพบผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก จำนวน 1 ราย จึงติดตามผู้ป่วยด้วยระบบ Fast track เพื่อมารับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ณ โรงพยาบาลแห่ง หนึ่งในจังหวัดจันทบุรี และทีม SRRT ในพื้นที่ดำเนินการสอบสวนโรคภายใน 12 ชั่วโมงเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และค้นหาแหล่งแพร่เชื้อผู้ป่วยเพิ่มเติม ใช้วิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยการสัมภาษณ์และทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย ประวัติครอบครัว ประวัติการสัมผัสโรคการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัส ใกล้ชิด รวมทั้งสังเกตสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนผู้ป่วย ผลการศึกษาพบ ผู้ป่วยเพศชายไทย อาชีพรับจ้าง ทั่วไป ไม่เคยมีประวัติการรักษาวัณโรค และโรคเบาหวานมาก่อน เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 ญาตินำส่งโรงพยาบาล ชุมชนด้วยอาการเหนื่อยแน่นหน้าอก ปวดท้อง อาเจียน 3 ครั้ง อ่อนเพลีย ให้ประวัติน้ำหนักลด 20 กิโลกรัม ในเวลา 3 เดือน และประวัติมีอาการไอเรื้อรัง 5 ปี ซื้อยารับประทานเอง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ (AFB Positive 2+; ผล CXR: Bilateral patchy infiltration LUL cavity with infiltration; DST: Resistant ยา Streptomycin, Isoniazid, Rifampicin, Ethambutol; ผล Culture TB Sputumพบ Mycobacterium Tuberculosis Complex Growth; ผล Molecular Assay: SL-LPA MTB Detected Fluoroquinolone: Resistant และ AG/CP: Resistant) พบผู้สัมผัส ร่วมบ้านจำนวน 3 คน และผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย 66 คน ดำเนินการถ่ายภาพรังสีทรวงอกและตรวจเสมหะ พบปัญหา อุปสรรค ได้แก่ การเข้าถึงสถานบริการของผู้ป่วย การขาดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการเจ็บป่วย จึงทำให้ เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและรักษาวัณโรค

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้