การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย 4 ภาค

ผู้แต่ง

  • จันธิดา กมาลาสน์หิรัญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กุสุมา ศรียากูล วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สมบูรณ์ เกียรตินันทน์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปรัชญา เพชรเกตุ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 8 อ., การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในพฤติกรรมของผู้อายุ ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้โดยลดการพึ่งพิง ดังนั้นผู้วิจัยจึงสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 4 ภาค และศึกษาสถานการณ์และการนำพฤติกรรมด้านการแพทย์แผนไทยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี เป็นการวิจัยผสมผสานแบบขั้น-ตอนเชิงอธิบาย โดยเชื่อมโยงผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการสำรวจ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกและทำกลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่วิจัยแบบเจาะจง คือ จังหวัดเลย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเชียงราย และจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 50 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวน ร้อยละ ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสำรวจข้อมูลทั่วไปพบว่าผู้สูงอายุ 4 ภาค พบเป็นเพศหญิง จังหวัดเลยมีช่วงอายุที่มากที่สุด พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองทั่วๆ ไป กินผักผลไม้ตามฤดูกาล กินปลาเป็นหลัก และเมื่อเจ็บป่วยนึกถึงสมุนไพร เพราะสมุนไพรเป็นทั้งอาหารและยา เช่น กล้วยน้ำหว้า มะระขี้นก บริบท ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน และแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์-แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (อ.8) ของแต่ละภาคที่แตกต่างกันได้ คือ อ. อาหาร ส่วน อ. อื่นๆ มีความเหมือนกัน การศึกษาครั้งนี้ยืนยันพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยมีความสำคัญยังคงอยู่คู่กับวิถีชีวิตของชุมชน ถ้าผู้สูงอายุแข็งแรงมีคุณภาพชีวิตดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งตนเองภายใต้กรอบแนวคิด ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ในชุมชนนั้นๆ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ