การพัฒนารูปแบบองค์กรสร้างสุขของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ทวีศักดิ์ วัดอุดม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
  • บุษบงก์ วิเศษพลชัย สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบองค์กรสร้างสุข, เครื่องมือการวัดความสุขด้วยตนเอง, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบองค์กรสร้างสุขโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทั้งสิ้น 169 คน จาก 3 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลชะอำ โรงพยาบาลบ้านลาด และ โรงพยาบาลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบสำรวจเครื่องมือการวัดความสุขด้วยตนเอง (happinometer) ของโครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.869 และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยความสุขมิติที่ต่ำสุดมี 3 มิติคือมิติผ่อนคลายดี มิติสุขภาพการเงินดี และมิติการงานดี (2) แม้จะมีการจัดโครงการเดิมอยู่แล้วแต่โครงการเหล่านั้นไม่ได้สร้างขึ้นบนการวิเคราะห์ปัญหาและสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของบุคลากร และ (3) การถอดบทเรียนการพัฒนารูปแบบองค์กรสร้างสุขพบว่าต้องเริ่มจากการค้นหาปัญหาที่แท้จริงที่องค์กรเผชิญอยู่ก่อน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจความต้องการที่บุคลากรในองค์กรต้องการ ซึ่งในกรณีนี้เครื่องมือการวัดความสุขด้วยตนเอง และการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำความเข้าใจองค์กรได้ดี นอกจากนี้ การออกแบบต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร และการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร รวมทั้งต้องมีทีมนำทำหน้าที่ขับเคลื่อน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้