การพัฒนาการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วรางคณา ศรีภูวงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวขัว
  • ภาคภูมิ อินทร์ม่วง โรงพยาบาลกันทรวิชัย
  • ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยาง
  • มยุรา นาสีเคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวขัว
  • วิไลพร หาญชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวขัว
  • ศุภธิดา ภิเศก สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม
  • เอมอร สุทธิสา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังโรคแบบบูรณาการ, การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษาในพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน มีวิธีศึกษา 3 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมการ วิเคราะห์สถานการณ์สภาพปัญหา (2) ปฏิบัติการพัฒนาการดำเนินงาน ซ้อมแผนปฏิบัติ ถอดบทเรียนสู่ชุมชน (3) สรุปประเมินผล เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบรายงานสอบสวนโรคพิษสุนัขบ้าในคนและในสัตว์ กลุ่มควบคุมโรคติดต่อระหว่าง สัตว์และคน (2) แบบสอบสวนและค้นหาผู้เสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า (3) แบบเก็บข้อมูลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่รับวัคซีน (5.36)เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาในช่วงระหว่างเดือน มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณโดย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า พบสุนัขบ้า จำนวน 6 ตัว กักกันสัตว์สัมผัสโรค 135 ตัว (ร้อยละ 24.50) ค้นหาผู้สัมผัสโรค จำนวน 138 คน (ร้อยละ 10.37) ไม่มีสัตว์สัมผัสโรคเพิ่ม ผู้สัมผัสได้รับวัคซีนครบทุกราย กำจัดแหล่งโรคได้ ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรค พิษสุนัขบ้า การมีส่วนร่วมของชุมชนเกิดมาตรการในการดำเนินงานด้วยชุมชนที่เข้มแข็ง รูปแบบ Spark Model ดังนี้ (1) Surveilance เฝ้าระวัง สอบสวน ค้นหาคนและสัตว์ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ประสานศูนย์เฉพาะกิจควบคุมโรค (2) Public relation ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ทั้งวัด บ้าน โรงเรียน สื่อต่างๆ คาถา 5 ย. หมอลำประยุกต์ (3) Arangement การเตรียมการ วัสดุ อุปกรณ์ วัคซีน บุคลากร และความพร้อม (4) Raising ระดมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง (5) Knowledge สร้างความรู้ ความตระหนักในการเลี้ยงสัตว์ ความรู้ ความเข้าใจ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2535 โดยสรุปการประสานทำให้เกิดพลังเครือข่ายในการพัฒนาการดำเนินงาน การทำงานที่ไม่แยกส่วน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและสัตว์ได้ สามารถเชื่อมโยงสู่ระดับอำเภอและระดับจังหวัดนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่บริบทใกล้เคียงได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ