การจัดการมูลฝอยในครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมชุมชนบ้านหนองคู ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิตยา โพกลาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
  • รำไพ กานุมาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
  • ทรนง คำวิสิทธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการ, มูลฝอยในครัวเรือน, เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยครัวเรือน ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และหาแนวทางในการลดปริมาณมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จำนวน 1 หมู่บ้าน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ตัวอย่าง 68 คน ประยุกต์ใช้เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) การสร้างองค์ความรู้ (A) (2) การสร้างแนวทางการพัฒนา (1) และ (3) ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (C) จากนั้นนำไปสู่การปฏิบัติตามแผนและประเมินผลก่อนและหลัง ระยะเวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างกรกฎาคม - กันยายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t- test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยโดยรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งมากกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีแนบทางลดปริมาณมูลฝอยจากการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ เกิดการจัดตั้งชมรมปุ๋ยหมักชีวภาพกองทุนจุลินทรีย์ทำปุ๋ยหมัก และรณรงค์ให้ทุกครัวเรือนมีการคัดแยกขยะรวมทั้งผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เอง โครงการชุมชนหนองคูรู้ค่าขยะ และเกิดนวัตกรรมดอกไม้ใบบุญ จากการดำเนินงานการประยุกต์กระบวนการมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ในการจัดการมูลฝอยครัวเรือน ทำให้คนในชุมชนได้ร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมหาแนวทางแก้ไข และร่วมดำเนินการ ด้วยความสมัครใจอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จึงควรนำรูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ