พฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • นงณภัทร รุ่งเนย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ศิริพร ครุฑกาศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • เยาวลักษณ์ มีบุญมาก ยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • นงคราญ บุญอิ้ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
  • น้ำฝน วชิรรัตนพงษ์เมธี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้บริการสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาใช้บริการจากคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง โดยใช้กรอบแนวคิดการอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของไคลแมนและแนวคิดเกี่ยวกับการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นแนวทางในการวิจัย เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบา-หวานชนิดที่ 2 ที่มาใช้บริการจากคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 29 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ผู้สูงอายุอธิบายความเจ็บป่วยโดยเริ่มจากค้นหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและประเมินความรุนแรงของโรคเบาหวานจากอาการไม่สุขสบายและระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยทุกคนใช้ระบบการดูแลสุขภาพแบบสามัญชนซึ่งประกอบด้วยการดูแลตนเองและการปรึกษาสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านก่อนการแสวงหาการดูแลสุขภาพจากระบบอื่น ได้แก่ ระบบการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์พื้นบ้าน โดยเลือกใช้มากกว่าหนึ่งระบบในช่วงเวลาเดียวกันและเปลี่ยนไปมาระหว่างระบบ อาจใช้ 2-3 ระบบพร้อมกัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ระบบบริการสุขภาพเมื่อเป็นเบาหวาน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ เช่น การอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความเชื่อด้านสุขภาพ ทักษะการสื่อสารและแสวงหาข้อมูล ประสบการณ์การรักษา การได้รับคำแนะนำจากครอบครัว เพื่อนบ้าน เครือข่ายทางสังคม และ (2) ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ เช่น คุณภาพการบริการสุขภาพ สมาชิกทีมสุขภาพ ระยะทางระหว่างบ้านและสถานบริการ และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ความเจ็บป่วยของ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และกระบวนการตัดสินใจแสวงหาการดูแลสุขภาพและได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้