การประเมินการรั่วไหลของสารคลอรีน ในโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ด้วยโปรแกรม ALOHA และ MARPLOT

ผู้แต่ง

  • มุจลินท์ อินทรเหมือน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จำนงค์ ธนะภพ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จันจิรา มหาบุญ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ศิริพร ด่านคชาธาร สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มัตติกา ยงประเดิม สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

สารเคมี, คลอรีน, โปรแกรม ALOHA, โปรแกรม MARPLOT, ระยะการรั่วไหล, การอพยพ

บทคัดย่อ

คลอรีนเป็นสารที่มีความเป็นพิษ อุบัติภัยการรั่วไหลของคลอรีนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ การวางแผนเพื่อควบคุมมาตรการความปลอดภัยจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการรั่วไหลของคลอรีนจากถังเก็บในกระบวนการจ่ายคลอรีนในโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา โดยใช้โปรแกรม ALOHA (Area Locations of Hazardous At-mospheres) และ MARPLOT (Mapping Application for Response Planning and Local Operational Tasks) จำลองสถานการณ์ตามฤดูกาลเป็น 3 ฤดู ผลการศึกษาพบว่าในฤดูร้อนมีระยะการรั่วไหลที่ระดับ ERPG-3 (ความเข้มข้น 20 ppm) สูงสุด ที่ระยะ 852 เมตร รองลงมาคือฤดูหนาวที่ระยะ 825 เมตร และในฤดูฝนที่ระยะ 815 เมตร ในฤดูฝนจะมีการแพร่กระจายของคลอรีนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูหนาวและฤดูร้อนจะมีการแพร่กระจายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะการรั่วไหลที่ระดับ ERPG-2 (ความเข้มข้น 3 ppm) ฤดูฝนมีระยะการแพร่กระจายสูงสุดที่ระยะ 2 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูหนาวและฤดูร้อนมีค่าเท่ากันที่ระยะ 1.7 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะการรั่วไหลที่ระดับ ERPG-1 (ความเข้มข้น 1 ppm) ในฤดูฝนมีระยะการแพร่กระจายสูงสุดที่ระยะ 3.1 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูหนาวและฤดูร้อนมีค่าเท่ากันที่ระยะ 2.6 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อรองรับในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในแต่ละฤดูต้องครอบคลุมระยะการแพร่กระจายที่ระดับ ERPG-1, 2 และ 3 สามารถนำข้อมูลไปจัดทำแผนฉุกเฉินกับโรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของสารเคมีในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้