การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบองค์รวมและครบทุกมิติโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • พรวิภา ยาสมุทร์ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • วิภาพรรณ หมื่นมา โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • นันทณา วงศ์พรหม โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • อรุณวดี โชตินันท์ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

การพัฒนาการดูแล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, องค์รวมและครบทุกมิติ, เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบองค์รวมและครบทุกมิติ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จำนวน 555 คน และประชากรกลุ่มเสี่ยงและคนปกติในปี 2558 จำนวน 41,357 คน ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลตามตัวชี้วัดซึ่งได้แก่ อัตราการมารับบริการซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง (re-visit rate) อัตราการมานอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน (re-admit rate) และค่าใช้จ่าย เนินการในปีงบประมาณ   2558–2560   ซึ่งโรงพยาบาลบ้านโฮ่งได้ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง   โดยใช้   evidence-based practice เป็นเครื่องมือมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เกิดปัญหาและทำการแก้ไขปัญหาจนเกิดเป็นการพัฒนาทั้ง 5 ระยะ เพื่อคงสภาพการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการดำเนินงานทั้งในและนอกโรง-พยาบาล  ครอบคลุมผู้ป่วย  ครอบครัว  ชุมชน  ให้ครบทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคมและจิตวิญญาณ  เน้นการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกัน  การรักษา  ฟื้นฟูสภาพ  การดูแลแบบประคับประคองและระยะสุดท้ายของชีวิต  ใช้การมี ส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่งมาเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาการดูแล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนผลการศึกษา พบว่า ปีงบประมาณ 2553-2560 เกิดโครงการต่างๆ มากมาย ที่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง มีกิจกรรมที่ครอบคลุมการดูแลแบบองค์รวม (ร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ) และทุกมิติของการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมการพัฒนาทั้งหมดนี้ สามารถสะท้อนผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยวัดจากตัวชี้วัดในการดูแลผู้ป่วยซึ่งได้แก่ อัตรา re-visit และค่าใช้จ่ายที่ลดลง แสดงถึงผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้น ส่วนอัตรา re-admit ที่สูงขึ้นในปี 2560 เกิดจากผู้ป่วยเขตรอยต่อของต่างอำเภอซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องประสานงานหรือแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างอำเภอต่อไป  ข้อเสนอแนะ  การพัฒนางานที่ประสบความสำเร็จและเกิดความยั่งยืนต้องมาจากทุกๆ  ฝ่าย  ร่วมมือกันให้ครบถ้วน  ครอบคลุมทั้งองค์รวมและทุกมิติ  เป็นคำตอบของการพัฒนาในทุกๆ  งาน  ทั้งนี้ต้องเกิดจากการมองเห็นปัญหาที่หน้างานก่อนและความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาแบบกัดไม่ปล่อย ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยมีเครื่องมือที่ช่วยให้มองเห็นการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้น นั่นก็คือ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (routine to research หรือ R2R)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ