แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารการเงินการคลังในหน่วยบริการสุขภาพ ที่มีความเสี่ยงทางการเงินในระดับ 7 เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • ชาลี เอี่ยมมา กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

หน่วยบริการสุขภาพ, ความเสี่ยงทางการเงินในระดับ 7, การบริหารการเงินการคลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการสุขภาพ   และเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงินการคลัง  หน่วยบริการสุขภาพ  ที่มีความเสี่ยงทางการเงินในระดับ 7 เขตสุขภาพที่ 1 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารที่มีบทบาทในการกำหนด  ติดตามและประเมินผลนโยบายด้านการเงินของหน่วยบริการสุขภาพ  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า  หน่วยบริการสุขภาพมีความเสี่ยงทางการเงินในระดับ  7  เขตสุขภาพที่  1 จำนวน 6 แห่ง จำนวนขนาดเตียง 10 30 60 88 และ 120 เตียง มีจำนวนบริการผู้ป่วยนอก 25,031-284,103 ครั้ง  บริการผู้ป่วยใน  1,783-15,631  ราย  อัตราครองเตียง  ร้อยละ  62.09-80.4  พบปัญหาในด้านการวางแผน ด้านทรัพยากร ด้านกระบวนการ และด้านผู้รับบริการ / เครือข่าย แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงินการคลังประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ประเมิน และวางแผนปฏิบัติงานการเงินการคลัง โดยการประชุมกลุ่ม  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  (2)  การปฏิบัติตามแนวทางจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของหน่วย-บริการสุขภาพ  (3)  การติดตาม  กำกับการดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการการเงินการคลัง  หน่วยบริการ-สุขภาพที่มีความเสี่ยงทางการเงินในระดับ  7  โดยมีทีมหรือคณะกรรมการ  CFO  เป็นผู้ติดตาม  เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และ (4) การถอดบทเรียน โดยทบทวนและวิเคราะห์ปัญหาที่ยังพบอยู่ และนำมาแก้ไข พัฒนาปรับปรุง ผู้บริหารหน่วยบริการสาธารณสุขสามารถนำแนวทางไปใช้  ซึ่งจะส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนระบบการเงินการคลังขององค์กรไปถึงเป้ าหมายได้ตามที่กำหนดไว้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ