การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหืด โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยโรคหืด, การมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพ, โรงพยาบาลวาปีปทุมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยหืดโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหาของการดูแลผู้ป่วยโรคหืด (2) ระยะพัฒนารูปแบบฯ (3) ระยะศึกษาผลการ ใช้รูปแบบฯ กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหืดที่ลงทะเบียนเข้ารับบริการ 3 ปีงบประมาณระหว่าง เดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2558 จำนวน 1517 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยหืด โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ประกอบด้วยกิจกรรม บันใด 10 ขั้นสู่ความสำเร็จ คือ ขั้นที่ 1 ขึ้นทะเบียนโรคหืด เน้นการเข้าถึงบริการครอบคลุม ขั้นที่ 2 จัดทำ CPG การวินิจฉัยโรคขั้นที่ 3 ประสานองค์กรแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน ขั้นที่ 4 การรักษาตาม GNA Guideline ขั้นที่ 5 การสอนผู้ป่วยเพื่อดูแลตนเอง ขั้นที่ 6 การติดตามดูแลต่อเนื่องโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ขั้นที่ 7 ระบบการติดตามผู้ป่วยขาดนัด ขั้นที่ 8 สร้างภาคีเครือข่าย การส่งต่อเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง ขั้นที่ 9 การพัฒนา ศักยภาพของบุคลากร และขั้นที่ 10 มีการวิเคราะห์ข้อมูล ติดตาม ประเมินผล หลังดำเนินการตามขั้นตอน พบว่า ผู้ป่วยเด็กมีอัตราการ admited อัตรา re-admit อัตรา ER-visit ลดลงเท่ากับร้อยละ 8.4, 2.7 และ 12.9 ตามลำดับ ผู้ป่วยผู้ใหญ่มีอัตราการ admitted อัตรา re-admit อัตรา ER-visit ลดลง ร้อยละ7.4, 1.0 และ 19.0 ตามลำดับ ส่วนอัตรา Respiratory failure ของ ผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่ดำเนินการตามรูปแบบฯ มีอัตราเท่ากับ 0.0 โดยสรุปการดูแลผู้ป่วยหืดโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพด้วยกิจกรรมบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จช่วยให้ผู้ป่วยโรคหืดได้รับการดูแลแบบองค์รวมและต่อเนื่อง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.