การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในสถานพยาบาลของรัฐ

ผู้แต่ง

  • นิศาชล เศรษฐไกรกุล สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ฐิติกร โตโพธิ์ไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • สุลัดดา พงษ์อุทธา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • วาทินี คุณเผือก สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • ภูษิต ประคองสาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • ทักษพล ธรรมรังสี สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการตลาดนมผสม, นมแม่, สถานพยาบาล, การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การได้รับข้อมูลที่เหมาะสมส่งผลต่อความรู้และทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะมีผล ต่อการตัดสินใจและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สำเร็จของมารดา บุคลากรสาธารณสุขและสถานพยาบาลเป็นแหล่งข้อมูล ที่สำคัญที่มีผลต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในขณะเดียวกันสถานพยาบาลอาจกลายเป็นช่องทางในการ ส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้เช่นกัน การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมการตลาดของอาหารทารกและเด็กเล็กในสถานพยาบาลของรัฐ และศึกษาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่มารดาได้รับเปรียบเทียบระหว่างนมแม่กับนมผสม โดยทำการศึกษาด้วยวิธีการสำรวจภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ สัมภาษณ์หญิงหลังคลอด 924 คนโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ณ หน่วยบริการฝากครรภ์ ห้องคลอด หอผู้ป่วยหลังคลอด และคลินิกเด็กสุขภาพดี ในสังกัดสถานพยาบาล รัฐทั้ง 5 ภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร) จำนวน 74 คน ผลการศึกษาพบว่าในบุคลากรกลุ่มตัวอย่างยังพบเห็นการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กที่ไม่เหมาะสมในสถานพยาบาลของรัฐในทุกรูปแบบ โดยพบการแจกของขวัญให้กับบุคลากร การสนับสนุนการเข้าร่วมประชุมของบุคลากร และการแจกตัวอย่างนมผสมให้กับสถานพยาบาลมากที่สุด ในส่วนของช่องทางการสื่อสารข้อมูล มารดากลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากบุคลากรสาธารณสุขมากที่สุด โดยได้รับในระหว่างรับบริการฝากครรภ์และหลังคลอดมากที่สุด ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับนมผสมนั้น กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูลจากโทรทัศน์มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2 3 > >>