การประเมินโครงการสนับสนุนการกำกับการกินยาวัณโรคต่อเนื่อง(DOT) จังหวัดมหาสารคาม ปี2553

ผู้แต่ง

  • พรสิทธิ์ ทวยนันท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • สาริยา อิ่มเขจร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • ฐิติชัย ไชยคำภา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, การกำกับการกินยาวัณโรค, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการสนับสนุนการกำกับการกินยาวัณโรคต่อเนื่อง (DOT) จังหวัดมหาสารคาม ปี 2553ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมิน 1) ประสิทธิผลของโครงการ DOT จังหวัด มหาสารคาม ปี 2553 2) ความ รู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคและ DOT ของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 3) ประสิทธิผล DOT ของ อสม. โดยเก็บข้อมูลประเมินโครงการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2553-30 กันยายน 2554 เป็นการเก็บข้อมูลการค้นหาและการรักษาผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 555 คน โดยใช้ทะเบียน/แบบรายงาน TB 01, TB 03, TB 07, TB 07/1 และ TB 08 ระยะที่ 2ในช่วงวันที่ 20 มกราคม-8 พฤษภาคม 2555 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอสม.จำนวน 161 คนใช้แบบ สอบถาม และแบบทดสอบ ส่วนผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษาปี 2553 จำนวน 162 คน ใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการ พบว่า 1) อัตราการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เสมหะบวก ร้อยละ 93.9 ของเป้าหมาย อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ร้อยละ 87.2 และอัตราการขาดยา ร้อยละ 36 ของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษา 2) อสม.มีความรู้ ความเข้าใจวัณโรค ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 71.4 3) การผิดนัดที่จะพบแพทย์ของ ผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 6.2 ผู้ป่วยวัณโรคที่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของ อสม.ร้อยละ 84.0 ตัวชี้วัดในการประเมินโครงการมีทั้งหมด 6 ตัวชีวัด สามารถดำเนินงานได้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 4 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ ความรู้ ความเข้าใจ วัณโรค ของ อสม. และการผิดนัดที่จะพบแพทย์ของผู้ป่วยวัณโรค

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมินโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมวัณโรคมีประสิทธิภาพสูงขึ้นควรมีการอบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องวัณโรคให้แก่ อสม.อย่างสม่ำเสมอ ควรค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยเสมหะบวกทุกคน ควรมี Mr.TB ประจำทุกหมู่บ้านและกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย วัณโรคควรผสมผสานกับการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื่อรังอื่นๆ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะต้องฝึกให้ อสม. เยี่ยม บ้านผู้ป่วยวัณโรคในครั้งแรก เพื่อเกิดการเรียนรู้ของ อสม.

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-07

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ