รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ศักยภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, การเตรียมความพร้อมบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ สำหรับผู้สูงอายุในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยรูปแบบประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 6 ด้าน ที่พัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี (L-SA Model) กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุตอนต้นที่มีอายุตั้งแต่ 60-70 ปี จำนวน 30 คน และมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ได้ >12 คือ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกครั้ง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า และกำหนดให้ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างต้องเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 6 ครั้ง ในระยะเวลา 4 เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินศักยภาพด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม (การมีงานทำ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวและชุมชน) และด้านความมั่นคงในชีวิต (การมีรายได้เพียงพอ และที่อยู่อาศัยมั่นคง) ก่อนและหลังการใช้ รูปแบบ L-SA Model วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และ Paired samples t–test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 76.7) มีอายุเฉลี่ย 64.7 ปี (SD 2.55) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 63.3) ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา (ร้อย-ละ 86.7) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 60.0) ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 46.7) หลังการใช้รูปแบบ L-SA Model ผู้สูงอายุมีศักยภาพด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วมและด้านความมั่นคงในชีวิต สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบ L-SA Model อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 จึงสรุปได้ว่ารูปแบบ L-SA Model มีประสิทธิผลดี และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุตอนต้นมีความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สุรพงษ์ มาลี. รู้จักสังคมสูงอายุและสถานการณ์ผู้สูงอายุ (ในประเทศไทย). วารสารข้าราชการ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2561]; 4: 5. แหล่งข้อมูล: https://www.ocsc.go.th/ sites/default/files/document/ocsc-2561-y60b04.pdf
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic003.php
นางสมฤทัย บุญสุธากุล. ฐานข้อมูลทางวิชาการ ด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข. [อินเทอร์-เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.senate.go.th/assets/portals/28/fileups/146/files/ฐานข้อมูลทางวิชาการ.pdf
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี. ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ (ฉบับสรุปสาระสำคัญ). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
Glen ฌ. Large enough sample condition [Internet]. 2019 [cited 2019 Jul 20]. Available from: https://www.statisticshowto.datasciencecentral.com/large-enough-sample-condition/
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2544.
World Health Organization. Active aging, a policy frame-work. A contribution of the World Health Organization to the second United Nations World Assembly on Aging, Madrid, Spain [Internet]. 2002 [cited 2017 Dec 10]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/67215/WHO_NMH_NPH_02.8.pdf; jsessionid=4B225534E05C48D7BF7BA169E-2297C07?sequence=1
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ภาณุวัฒน์ เชิดเกียรติกูล, ปณิตา วรรณพิรุณ. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และอาชีพของผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒิพลัง [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/278851
เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย, มาลี สันติถิรศักด์. การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกองการพยาบาล 2553; 37(2):64-76.
พรพิมล เพ็ชรบุรี. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์; 2559. 163 หน้า.
ศิริพร สนิทนิตย์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตน ในกลุ่มผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;29(3):304-10 .
เสาวนีย์ ชนะพาล. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนทางไต [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558. 215 หน้า.
วรานิษฐ์ โชคนิธินิรันดร์. ปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมด้านกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่ น. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.western.ac.th/images/NurseW/RESEARCHPROJECT/2559/elder03.pdf
กาญจนา ปัญญาธร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;22(2):24-36.
วราภรณ์ ยังเอี่ยมม, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีปะเสน, นิรัตน์ อิมามี. การส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2556;43(2):126-37.
พาขวัญ บุญประสานม, เดชา ทำดี, อัญชลี ฉลาดธัญญกิจ, อุทัยวรรณ์ หิรัญศุภโชติม, สุภัค สีธูป. ผลของการปรับพฤติกรรมโดยใช้แนวคิดทฤษฎีปัญญา สังคมต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่ วยเบาหวาน โรงพยาบาลห้วย-คต จังหวัดอุทัยธานี. พยาบาลสาร 2557;41(5):35-47.
Green LW, Kreuter W. Health Promotion Planning: An education and ecological approach. 4th ed. Toronto: May-field Publishing; 2005.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.