การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ภัครินทร์ ชิดดี โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • สุจริต ทุมจันทร์ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • เพชรศรี สารรัตน์ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • อัชรา พิลาทอง โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • พิสมัย ทิพย์วารี โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
  • ดาราพร สิงห์ทอง โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

โรคจิตเวช, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง, การดูแลผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ โดยใช้กรอบแนวคิด chronic care model เป็นแนวทางในการวิจัย ระยะเวลาในการศึกษา 1 ตุลาคม 2558-31 มีนาคม 2560 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยบุคลากรในคลินิกสุขภาพจิต โรง-พยาบาลอำนาจเจริญ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมือง เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ ผู้ป่วยที่อาการทางจิตสงบ และญาติ รวมทั้งหมด 101 คน ประเมินผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายผลการดำเนินงานที่เป็นผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ ประเมินการดูแลผู้ป่วยโรค-เรื้อรัง วัดภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทใช้สถิติร้อยละ ผลการศึกษา เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลอำนาจเจริญและเครือข่ายที่ชัดเจน มีจัดทำแนวทางการดำเนินงานที่เห็นการทำงานเชื่อมกันกับเครือข่ายจิตเวช เมื่อประเมินการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หลังดำเนินงาน 6 เดือน พบว่ามีระดับคะแนนที่ดีขึ้นจาก 2.56 เป็น 9.54 คิดเป็นร้อยละ 73.16 หมายถึงมีการสนับสนุนดีมากต่อการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เมื่อประเมินอาการทางจิตโดยใช้แบบประเมิน brief psychiatric rating scale พบว่าผลรวมของค่าคะแนนลดลงทุกคนหมายถึง มีอาการทางจิตดีขึ้นทุกคน และจากการประเมินญาติโดยใช้แบบวัดภาระการดูแลผู้ป่วยพบว่า การเป็นภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเวชลดลง และญาติ หรือผู้ดูแลมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น และผลลัพธ์ด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วยพบว่าร้อยละของการขาดนัดลดลงเป็นร้อยละ 8.40 และร้อยละของผู้ป่วยขาดยาลดลงเป็นร้อยละ 5.30 ในการศึกษาครั้งนี้อาจมีปัจจัยที่มีผลต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยที่ผู้วิจัยไม่ได้ควบคุมคือ ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน และควรมีการประเมิน ต่อเนื่องทุก 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

มาโนช หล่อตระกูล. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร.ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558

สำนักงานพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ.รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556. นนทบุรี: เดอะกราฟิ โก ซิสเต็มส์; 2558.

MacColl Institute for Health Care Innovation. Chronic Care Model [Internet]. [cited 2017 Feb 14]. Availiable from: http//www.improving chroniccare.org//index.php

ปัทมา โกมุทบุตร, กฤษฏิ์ ทองบรรจบ. เอกสารประกอบการเรียนรู้ Chronic Care Model [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.พ. 2560]. แหล่งข้อมูล: www.med.cmu.ac.th/dept/commed

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.

สมชาติ โตรักษา. การบริหารโรงพยาบาลและการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย. เอกสารวิชาการสมาคมนักบริหารโรงพยาบาลประเทศไทยชุดที่ 12. กรุงเทพ-มหานคร: พี. เอ็น. การพิมพ์; 2544.

วรัทยา ราชบัญดิษฐ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่ วยจิตเวชโรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม. วารสารสมาคม-พยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556;31(3):48-56.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

วิธีการอ้างอิง