ผลของการไม่ได้รับวัคซีนหัดต่อการป่วยเป็นโรคหัด ในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

โรคหัด, วัคซีนหัด, สงขลา

บทคัดย่อ

จังหวัดสงขลามีรายงานการระบาดของโรคหัดมาอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของโรคหัด และเพื่อศึกษาผลของการไม่ได้รับวัคซีนหัดต่อการป่วยเป็นโรคหัด โดยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังในรายที่ป่วยและไม่ป่วยด้วยโรคหัด (case control study) โดยรวบรวมข้อมูลประวัติการป่วยสำหรับโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ว่าเป็นโรคหัดและโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคหัดที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดสงขลาช่วงปี 2558 – 2562 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มจากผู้ป่วยที่มีการบันทึกข้อมูลที่สมบูรณ์ ตามขนาดตัวอย่างที่จากการคำนวณจำนวน 424 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และทดสอบผลของการไม่ได้รับวัคซีนหัดต่อการป่วยเป็นโรคหัดด้วยสถิติ Odds ratio (OR) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบการได้รับวัคซีนหัดกับการป่วยเป็นโรคหัดด้วยด้วยสถิติ Odds ratio (OR) พบว่า ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนหัดมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัดมากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนหัดเป็น 3.05 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI=1.97-4.74) เมื่อพิจารณาจากช่วงอายุของการได้รับวัคซีนหัด โดยใช้ช่วงอายุ 0 ถึง 8 เดือนซึ่งยังไม่ถึงวัยได้รับวัคซีนหัดเป็นกลุ่มอ้างอิง พบว่า ช่วงวัยที่ไม่ได้รับวัคซีนหัดมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัดมากกว่าช่วงวัยที่ได้รับวัคซีนหัดครบ 2 ครั้ง มากเป็น 2.31 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI=1.31-4.08) และช่วงวัยที่ได้รับวัคซีนหัดเพียง 1 ครั้ง มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัดมากกว่าช่วงวัยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้ง เป็น 1.89 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CI=1.10-3.24) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การได้รับวัคซีนหัดครบ 2 ครั้ง ตามเกณฑ์สามารถป้องกันการป่วยเป็นโรคหัดได้มากถึง 2.31 เท่า และการได้รับวัคซีนหัดแม้เพียง 1 ครั้ง สามารถป้องกันการเป็นโรคหัดได้สูงถึงเกือบ 2 เท่า จึงควรมีการรณรงค์การรับวัคซีนหัดตามช่วงอายุที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือ เข็มแรกตอนอายุ 9 เดือน และเข็มที่ 2 ตอนอายุ 30 เดือนหรือ 2 ขวบครึ่ง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Kate Kelland. WHO decries ‘collective failure’ as mea-sles kills 140,000 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค.2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.reuters.com/article/us-health-measles-who-idUSKBN1Y92CM

World Health Organization. WHO vaccine-preventable diseases: monitoring system. 2017 global summary [Internet]. [cited 2019 Oct 30]. Available from: http://apps.who.int/immunization_monitoring/globalsummary/coverages?c=THA.

ชาณัฐ เอื้อกูล, ฤทธิชัย ใจผ่อง, ศริญญา ไชยยา, ภาวินี ด้วงเงิน. โรคหัดและมาตรการกำจัดโรคหัด [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.cdc.gov/measles/about/complications.html

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคหัด ประเทศไทย พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล:http://203. 157.15.110/boe/diseases.php?ds_key=c2l0&dsid= Ng==&ds=RGVuZ3VlIGhlbW9ycmhhZ2ljIGZldmVy

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. ตารางการฉีดวัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.pidst.or.th/A626.html.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคหัด ปี 2561 สัปดาห์ที่ 52 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaivbd.org/n/measles/view/491

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12. การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหัด เขต 12 พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://www.rh12.moph.go.th/wpcontent/ uploads/2019/05/4_11951282.pdf

Schlesselman JJ. Case-Control Studies Design Conduct Analysis. New York: Oxford University Press; 1982.

Kim HY. Statistical notes for clinical researchers: effect size. Restor Dent Endod 2015;40:328-31.

นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่างกรณีการศึกษาแบบ case-control [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล: https://home.kku.ac.th/nikom/ss_ucc_mcc.pdf

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์รายปี พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภา-คม 2562].แหล่งข้อมูล http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=87.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. Odds ratio ของปัจจัยทีเป็นตัวแปรต่อเนื่อง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;25(2):160-1.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์รายปี พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/Annual/Annual%202552/AESR52Part1/B_Part1_52/1252_Measles.doc

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคหัดประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ม.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 1112120200121090145.pdf

สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. สถานการณ์โรคหัดและแนวทางการป้องกันควบคุมโรค. ผลการทบทวนปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่ วยโรคหัด เขตสุขภาพที่ 12 พ.ศ. 2561-62. สงขลา: สำนักงานป้ องกัน-ควบคุมโรคที่ 12; 2562.

อุบลวรรณ บุญลอย. ระดับภูมิต้านทานป้ องกันโรคหัด ในเด็กอายุ 4 ปี ที่ได้รับวัคซีนป้ องกันโรคหัดหรือวัคซีนรวมป้ องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมันครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 9 – 12 เดือน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรง-พยาบาลพระปกเกล้า 2555;29(3):217-28.

ผุดพรรณ กิตติคุณ. การระบาดของโรคหัดที่โรงพยาบาลชลบุรี ปี พ.ศ. 2552. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2553;25(4): 623-31.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์รายปี พ.ศ.2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล:http://www.boe.moph.go.th/Annual/Annual%202552/AESR52Part1/B_Part1_52 /1252_Measles.doc

นฤมล ภิรมย์. การฉีดวัคซีนป้ องกันโรคหัดในเด็กไทย. รามาธิบดีเวชสาร 2557;8(7):245-52.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคหัด พ.ศ.2557 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 739cd11aabade7d01e468d86e37b23c7.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

วิธีการอ้างอิง