การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงสูง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สฤษดิ์เดช เจริญไชย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี
  • วิชัย สุขภาคกิจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี
  • มาสริน ศุกลปักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรม, การป้องกันและควบคุม, โรคไข้เลือดออก, พื้นที่เสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการของประชาชน บุคลากรสุขภาพ และภาคีเครือข่าย ในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ศึกษาระหว่างเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ประเมินปัจจัยและพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้แทนครัวเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ระยะที่ 2 ออกแบบรูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พัฒนาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้แทนภาคประชาชน บุคลากรสุขภาพและภาคีเครือข่าย ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จากกลุ่มตัวอย่างผู้แทนครัวเรือนในพื้นที่เป้ าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือรูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่พัฒนาจากระยะที่ 2 และเครื่องมือแบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพฤติกรรมการป้ องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่พัฒนาจากระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วย Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยและพฤติกรรมการป้ องกันและควบคุมไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี คือ ปัจจัยนำด้านความรู้ ปัจจัยนำด้านทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยสามารถทำนายพฤติกรรมการป้ องกันและควบคุมไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 34.6 จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำไปสู่การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสูงเขตอำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การวางแผนกิจกรรม การดำเนินกิจกรรม “ชุมชนปลอดภัยจากไข้เลือดออก” การติดตามผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน เมื่อนำรูปแบบกิจกรรมไปทดลองใช้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยปัจจัยนำด้านทัศนคติ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงควรนำรูปแบบกิจกรรมการป้ องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการไปปรับประยุกต์ใช้ และขยายผลในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงทั่วประเทศต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือด-ออก ปี 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. รายงานระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก ปี 2562. นนทบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี; 2562

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. รายงานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคไข้เลือดอออก ระดับจังหวัด. นนทบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี; 2561.

นันทนัช โสมนรินทร์, ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้ องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9; 6-7 ธันวาคม 2555; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

สิวลี รัตนปัญญา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมและรูปแบบกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอ-แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561;27(1):135-48.

Green LW, Kreuter MW. CDC’s planned approach to community health as an application of PRECEDE and an inspiration for PROCEED. Journal of Health Educa-tion 1992;23:140-7.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper; 1973.

Morrow R, Rodriguez A, King N. Colaizzi’s descriptive phenomenological method. The Psychologist 2015; 28(8),643-4.

Tansakun S. Guidelines for the implementation of health education and health promotion. Journal of Health Edu-cation 2012;30(105):1-15.

รัชฎากรณ์ มีคุณ, กรรณิกา สาลีอาจ, ชลการ ทรงศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้ องกันและควบคุมโรค-ไข้เลือดออกของประชาชนบ้านหนองอีเบ้า ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา 2562;2(2):26-34.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ; 2548.

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อัมพร สิทธิจาด, ธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้ องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร.วารสาร-พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2560;18(34):34-48.

Green LW, Kreuter MW. Health program planning: an educational and ecological approach. New York: Mc-Graw-Hill;2005.

ภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้ องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่โรง-พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2562;1(1):23-31.

ธีระ รุญเจริญ. รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ. เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 2543.

อุทุมพร จามรมาน. โมเดล (Model). วารสารวิชาการ กรม-วิชาการ 2541;1(3):22-6.

Joyce BR, Weil M, Calhoun E. Models of teaching. 9thedition. Boston, MA: Pearson; 2015.

เกศิณี วงศ์สุบิน, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ธราดล เก่งการพา-นิช, มณฑา เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการป้ องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่ งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย-ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559;33(3):196-209.

ยุทธพงศ์ ภามาศ. การสร้างพลังประชาชนในการป้ องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

วิธีการอ้างอิง